วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนสวดมนต์ของปาล์ม

มีขั้นตอนตามนี้ครับ
1. เราต้อง อาบน้ำชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ ใส่เสื้อสีขาวดูสุภาพ เพื่อให้ความเคารพพระรัตนตรัย จากนั้นไปที่ห้องพระ ต้องหลังจากรับประทานอาหาร อย่างต่ำ 1 ชั่วโมงครึ่ง
2. จากนั้น จุดเทียน 2 เล่ม ซ้ายขวา (แทนพระธรรมของพระพุทธเจ้า ที่สาดส่องสรรพสัตว์ให้หายจากความมืดมน) ธูป 5 ดอก (แทนรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของเราถวายเป็นพุทธบูชา ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย หากสถานที่ไม่อำนายก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องจุดธูปเทียน
3. จากนั้น กราบลง 3 ครั้ง
จึงเริ่ม สวดมนต์ ตามนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ 3 ครั้ง
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
มาตา ปิตุ คุณัง อะหัง วันทามิ (กราบ)
คุรูปัชฌายาจาริยะ คุณัง อะหัง วันทามิ (กราบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ 3 ครั้ง
อุกาสะ อัจจะโย โน ภันเต อัจจักคะมา ยะถาพาเล ยะถามุฬเห ยะถาอะกุสะเล เยมะยัง กะรัมหา เอวัง ภันเต มะยัง อัจจะโยโน ปฏิคคัณหะถะ อายะติง สังวะไรยยามิ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะ สาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวะติ
สะหวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุไนยโย ปาหุไนยโย ทักขิไณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
จากนั้น ให้กราบลง 3 ครั้ง
เริ่มนั่งสมาธิ ให้จัดท่านั่งที่เราสบาย นั่งขัดสมาธิธรรมดา หรือพับเพียบก็ได้ มือขวาทับมือซ้าย
นั่งหลังตรง จากนั้นหลับตาลง แล้วเริ่มอย่างแรก คือระบายลมหยาบออกจากร่างกายเราก่อน คือหายใจเข้าให้ลึกที่สุด สูดลมหายใจเข้าให้ลึกที่สุด กลั้นไว้จนกว่าจะไม่ไหว จากนั้นจึงหายใจออกให้ลึกที่สุด แล้วหายใจเข้าให้ลึกที่สุด ทำแบบนี้สลับกันไป จนได้หายใจเข้า 3 ครั้ง หายใจออกสามครั้ง
การระบายลมหยาบออกจากร่างกายก่อน จะช่วยให้เข้าสมาธิได้ไว ไม่สะดุด เวลานั่งๆไป เป็นการปรับสมดุล ก่อนนั่งสมาธิ
จากนั้น ให้เราคิดว่า เราได้ตายไปแล้ว ไม่มีภาระอื่นใด ชีวิตเราไม่เหลืออะไร เหลือแค่ การทำสมาธิ จะได้ตัดความกังวลลงไป จากนั้น ให้เริ่ม ทำสมาธิ โดยการดูลมหายใจ ไปเรื่อยๆ หายใจเข้าพุท หายใจออก โท
ทำไปเรื่อยๆ ให้ตั้งเวลาไว้ โดยประมาณ 20 นาที อย่าให้นานเกิน เอาน้อยๆ แต่เน้นจิตสงบ ให้รู้แค่ตอนลมหายใจเข้า พุท หายใจออกโท เท่านั้น อย่าให้ใจคิดไปอย่างอื่น

เมื่อครบกำหนดแล้ว ให้เราพิจารณาดังนี้
เราทุกคนล้วนมีความทุกข์ ไม่ว่ารวยจนขนาดไหน อายุมากหรืออายุน้อยก็ตาม แม้เราเองก็มีความทุกข์ คนทุกคนมีความทุกข์เสมอกัน สองประการ
หนึ่งความทุกข์ประจำ สองความทุกจร ความทุกข์ประจำ ก็คือความทุกข์ประจำสังขารที่เรา ต้องพบเจอกับมันทุกวัน
ตั้งแต่ เราตื่นขึ้นมาแต่ละวัน เราต้องปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ หากไม่ถ่ายหนัก ไม่ถ่ายเบา ก็ไม่ได้ เจ็บปวดเป็นทุกข์ ไหนจะต้องอาบน้ำแปรงฟัน สระผม ถูสบู่ เพื่อให้ร่างกายกลับมาดูดี ดูหอม ซึ่งก่อนนอนเราอาบ เราทำความสะอาดไปแล้ว ตื่นมาทีไรต้องทำทุกที
ต้องมาลำบากแต่งตัว ทาแป้ง ใช้น้ำหอมทุกๆวัน สายมาเริ่มหิวข้าว ไม่กินก็ไม่ได้ ความหิวทำให้ทรมาน ท้องร้องเจ็บท้อง หากไม่กินก็จะเป็นโรคกระเพาะ
อีกหน่อยก็ต้องรีบไปทำงาน ทำภาระของตน
พอเที่ยงก็เริ่มหิวขึ้นมาอีก พอตกบ่าย อากาศร้อนๆ เหงื่อเริ่มไหล ตัวหอมๆของเรา เริ่มไม่หอมแล้ว เปลี่ยนไปแล้ว ต้องหาน้ำหอมาฉีดมาพรม ให้พอดูได้
เย็นๆ กลับบ้าน ต้องทานข้าวเย็นอีก ข้าวปลาอาหารที่กินเข้าไปดีๆ ทั้งนั้น แต่พอตื่นเช้าขึ้นมา ก็ต้องขับถ่าย พอถ่ายออกมา น่าดูไหม ดูไม่ได้
ไหนเราจะต้องหาผ้ามาห่มเวลาเราหนาว ไหนจะอาบน้ำให้หายร้อน ไหนจะกินให้หายหิว ไหนจะเจ็บปวด เวลาเราป่วย
นี่แหละคือความทุกข์ ที่ทุกคนมีเสมอกัน อย่าหลงเกินไป
จากนั้น ให้พิจารณาดูความทุกข์จร ความทุกข์จร ได้แก่ปัญหาที่จรเข้ามาแต่ละวัน การเงิน การงาน ปัญหาครอบครัวบ้าง เรื่องการเรียนบ้าง ที่คอยบีบคั้นเราทุกวัน
ลองตรองดูดีๆ ชีวิตคนเราแท้จริงมีความสุขไหม ให้พิจารณาให้เห็น ใครกรรมเก่าหนักมากก็ปัญหามาก
ไหนจะต้องเผชิญชะตากรรม ต่างๆ ในชีวิต ดูแล้วชีวิตเราไม่มีความสุขใดๆเลย
ที่เราต้องมาทุกข์แบบนี้ เพราะอะไร เพราะเรามีกิเลส มีกิเลสเลยต้องมาเกิด ต้องมามีร่างกาย มามีสังขาร ให้ต้องทุกข์ทน
ให้เราพิจารณาเนืองๆ แบบนี้ประจำ ให้อธิษฐานไว้ว่า ตายเมื่อไหร่ จุดที่จะไปคือพระนิพพาน ไม่ขอไปจุดอื่น ไม่ขอเกิดอีกแล้ว คือขอถึงความสิ้นทุกข์ทั้งมวล ขอถึงพระนิพพาน

จากนั้น ให้สวดบทพิจารณาสังขาร
สัพเพ สังขารา อะนิจจา.
สังขารคือร่างกาย จิตใจ และรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไปมีแล้วหายไป.
สัพเพ สังขารา ทุกขา.
สังขารคือร่างกาย จิตใจ แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นทุกข์ทนยาก เพราะเกิดขึ้นแล้ว แก่ เจ็บ ตายไป.
สัพเพ ธัมมา อะนัตตา
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งที่เป็นสังขาร แลมิใช่สังขารทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา.
อะธุวัง ชีวิตัง ชีวิตเป็นของไม่ยั่งยืน
ธุวัง มะระณัง ความตายเป็นของยั่งยืน
อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง อันเราจะพึงตายเป็นแท้
มะระณะปะริโยสานัง เม ชีวิตัง ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุดรอบ
ชีวิตัง เม อะนิยะตัง ชีวิตของเรา เป็นของไม่เที่ยง
มะระณัง เม นิยะตัง ความตายของเรา เป็นของเที่ยง
วะตะ ควรที่จะสังเวช
อะยัง กาโย ร่างกายนี้
อะจิรัง มิได้ตั้งอยู่นาน
อะเปตะวิญญาโณ ครั้นปราศจากวิญญาณ
ฉุฑโฑ อันเขาทิ้งเสียแล้ว
อะธิเสสสะติ จักนอนทับ
ปะฐะวิง ซึ่งแผ่นดิน
กะลิงคะรัง อิวะ ปะดุจดังว่าท่อนไม้และท่อนฟืน
นิรัตถัง หาประโยชน์มิได้
มนุษย์เราเอ๋ย เกิดมาทำไม นิพพานมีสุข อยู่ไยมิไปตัณหาหน่วงหนัก หน่วงชักหน่วงไว้ ฉันไปมิได้ ตัณหาผูกพันห่วงนั้นพันผูก ห่วงลูกห่วงหลาน ห่วงทรัพย์สินศฤงคาร จงสละเสียเถิด จะได้ไปนิพพาน ข้ามพ้นภพสาม ยามหนุ่มสาวน้อย หน้าตาแช่มช้อย งามแล้วทุกประการ แก่เฒ่าหนังยาน แต่ล้วนเครื่องเหม็น เอ็นใหญ่เก้าร้อย เอ็นน้อยเก้าพัน มันมาทำเข็ญใจ ให้ร้อนให้เย็น เมื่อยขบทั้งตัว ขนคิ้วก็ขาว นัยน์ตาก็มัว เส้นผมบนหัว ดำแล้วกลับหงอก หน้าตาเว้าวอก ดูน่าบัดสี จะลุกก็โอย จะนั่งก็โอย เหมือนดอกไม้โรย ไม่มีเกสร จะเข้าที่นอน พึงสอนภาวนา พระอนิจจัง พระอนัตตา เราท่านเกิดมา รังแต่จะตาย ผู้ดีเข็ญใจ ก็ตายเหมือนกัน เงินทองทั้งนั้น มิติดตัวไป ตายไปเป็นผี ลูกเมียผัวรัก เขาชักหน้าหนี เขาเหม็นซากผี เปื่อยเน่าพุพอง หมู่ญาติพี่น้อง เขาหามเอาไป เขาวางลงไว้ เขานั่งร้องไห้ แล้วกลับคืนมา อยู่แต่ผู้เดียว ป่าไม้ชายเขียวเหลียวไม่เห็นใคร เห็นแต่ฝูงแร้ง เห็นแต่ฝูงกา เห็นแต่ฝูงหมา ยื้อแย่งกันกิน ดูน่าสมเพช กระดูกกูเอ๋ย เรี่ยรายแผ่นดิน แร้งกาหมากิน เอาเป็นอาหาร เที่ยงคืนสงัด ตื่นขึ้นมินาน ไม่เห็นลูกหลาน พี่น้องเผ่าพันธุ์ เห็นแต่นกเค้า จับเจ่าเรียงกัน เห็นแต่นกแสก ร้องแรกแหกขวัญ เห็นแต่ฝูงผี ร้องไห้หากัน มนุษย์เราเอ๋ย อย่าหลงนักเลย ไม่มีแก่นสาร อุตส่าห์ทำบุญ ค้ำจุนเอาไว้ จะได้ไปสวรรค์ จะได้ทันพระพุทธเจ้า จะได้เข้านิพพาน อะหัง วันทามิ สัพพะโส อะหัง วันทามิ นิพพานะปัจจะโยโหตุฯ
เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว ให้เรากำหนดว่า
ขอบารมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอให้เสียงของข้าพเจ้า ดังไปถึงทุกรูปนาม ที่มีกรรม มีเวร เกี่ยวข้องกับข้าพเจ้า ทั้งผู้ที่เป็นเจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้า
หรือ ผู้ที่ข้าพเจ้าเองเป็นเจ้ากรรมนายเวรของเขา
หากข้าพเจ้า ได้เคยไปล่วงเกินท่านผู้ใดก็ตามด้วยกาย วาจา ใจ ด้วยความตั้งใจ หรือไม่เจตนาก็ตาม รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม ในชาติก่อนก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอให้ท่านอโหสิกรรม ในความผิดพลาดของข้าพเจ้า ที่ได้ล่วงเกินท่านด้วย
ในทำนองกลับกันนั้น หากผู้ใดตามทุกรูปนาม ที่เคยล่วงเกินข้าพเจ้า ด้วยกาย วาจา ใจ ด้วยความตั้งใจ หรือไม่เจตนาก็ตาม รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม ในชาติก่อนก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ ทั้งหมด
หากข้าพเจ้าเคยไปสาปแช่งผู้ใดไว้ก็ตาม ในภพชาติที่ผ่านมาทั้งหมดก็ดี ชาตินี้ก็ดี ข้าพเจ้าขอถอนคำสาปแช่งเหล่านั้น ขอให้ทุกรูปนาม เป็นอิสระจากคำสาปเหล่านั้นทั้งหมด
แล้วหากข้าพเจ้าเคยอธิษฐาน สิ่งใดก็ตาม อันไม่เหมาะไม่ควร ไม่เป็นสัมมาทิฐิ ข้าพเจ้าขอถอน ความตั้งใจ และคำอธิษฐานเหล่านั้น ขอให้ข้าพเจ้าอยู่ในความเป็นสัมมาทิฐิตลอดไป
จากนั้น ให้แผ่เมตตาให้ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์
อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร
อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
อะนิโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ จงมีความสุขกายสุขใจรักษา
ตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
จากนั้นแผ่เมตตาพรหมวิหารสี่
บทเมตตา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่มีเวรแก่กันและกันเถิด
อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กาย ทุกข์ใจเถิด
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงเป็นผู้มีสุข พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
บทกรุณา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ
จงพ้นจากทุกข์เถิด
บทมุทิตา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
มา ลัทธะสัมปัตติโต วิมุจจันตุ
จงอย่าไปปราศจากสมบัติอันตนได้แล้วเถิด
บทอุเบกขา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
กัมมัสสะกา
เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
กัมมะทายาทา
เป็นผู้รับผลของกรรม
กัมมะโยนิ
เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
กัมมะพันธุ
เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กัมมะปะฏิสะระณา
เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง กัมมัง กะริสสันติ
กระทำกรรมอันใดไว้
กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา
ดีหรือชั่ว
ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
———————————————————————————————————————–
จากนั้นให้แผ่ส่วนกุศล
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ
จากนั้นให้เราไปกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร โดยเตรียมน้ำเย็น หรือน้ำฝน ลอยดอกมะลิ สัก 7 ดอก แล้วไปที่โคนต้นไม่ใหญ่ ที่สุดในแถบนั้น
แล้วไปกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร
โดยพูดว่า ขอบารมีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ โปรดนำส่งผลบุญที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วทั้งหมด ด้วยทาน ศีลภาวนา บุญกริยาวัตถุ 10 ประการ ในทุกภพชาติ จนถึงชาติปัจจุบันนี้ ขอให้บุญทั้งหลายนี้จงถึงแก่เจ้ากรรมนายเวร ทั้งหลายของข้าพเจ้าทุกรูปนามขันธ์ เมื่อท่านได้รับ ขอให้ท่านมีร่างกายบริบูรณ์ ขอให้ท่านมีอาหารการกิน น้ำดื่ม ที่บริบูรณ์ เสื้อผ้าอาภรณ์พรรณ เครื่องประดับกาย แสงสว่างกายที่อยู่อาศัยบ้านเรือน ปราสาท ยานพาหนะ ความสุขสบายทั้งปวง แล้วโปรดอโหสิกรรมให้ข้าพเจ้าด้วย
หมายเหตุ – หากท่านทำได้ดังนี้ กรรมเวรจะเบาลง
การนั่งสมาธิ จิตสงบได้ แม้เพียง ชั่วครู่ ย่อมบังเกิดบุญมหาศาล อุทิศกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร จะได้ผลไว
ที่ต้องกรวดน้ำโดยใช้น้ำและดอกมะลิอีกที เพราะผีบางประเภท โมทนาบุญไม่ได้ ถ้าไม่มีสื่อ
จึงต้องกรวดน้ำให้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้ายกำกับ

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก