วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

มรรค 8 ขยายความ

มรรคมีองค์ ๘ หรือ อัฏฐังคิกมรรค อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ
the noble Eightfold Path
องค์ ๘ ของมรรค มัคคังคะ — factors or constituents of the Path มีดังนี้
๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ
เห็นไตรลักษณ์ หรือ
รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล
หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท
Right View; Right Understanding
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป Right Thought กุศลวิตก ๓
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔ Right Speech
๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ Right Action
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ Right Livelihood
๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔ Right Effort
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ Right Mindfulness
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ — Right Concentration)

องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ ข้อ ๓-๔-๕
เป็น ศีล ข้อ ๖-๗-๘
เป็น สมาธิ ข้อ ๑-๒
เป็น ปัญญา สิกขา ๓ อริยสัจ 4

มรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ดู (๑๕) ที่สุด ๒

อริยสัจ ๔ ความจริงอันประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ The Four Noble Truths
๑. ทุกข์ ความทุกข์, สภาพที่ทนได้ยาก, สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง, ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ suffering; unsatisfactoriness
๒. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์, สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา the cause of suffering; origin of suffering
๓. ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป, ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกต้อง ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คือนิพพาน the cessation of suffering; extinction of suffering
๔. ทุกขนิโรธคามีนิปฏิปทา ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง มรรคมีองค์ ๘ นี้ สรุปลงในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา the path leading to the cessation of suffering

อริยสัจ ๔ นี้ เรียกกันสั้นๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การแสดงอริยสัจ ๔ นี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามุกกังสิกา ธรรมเทศนา (เช่น องฺ.อฏฺก.๒๓/๑๐๒/๑๙๐) แปลตามอรรถกถาว่า พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงหยิบยกขึ้นถือเอาไว้ด้วยพระองค์เอง คือ ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ (= ตรัสรู้เอง) ไม่สาธารณะแก่ผู้อื่น (แต่ตามที่อธิบายกันมา มักแปลว่า พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง โดยไม่ต้องปรารภคำถามหรือการทูลขอร้องของผู้ฟัง อย่างการแสดงธรรมเรื่องอื่นๆ; ความจริง จะแปลว่า พระธรรมเทศนาขั้นสุดยอดก็ได้ ซึ่งสมกับเป็นเรื่องที่ทรงแสดงท้ายสุดต่อจาก อนุปุพพิกถา ๕ คำแปลอย่างหลังนี้ พึงเทียบ องฺ.ทสก.๒๔/๙๕/๒๐๘)

ไตรลักษณ์ ลักษณะ ๓ ประการ แห่งสังขารธรรมทั้งหลาย the Three Characteristics
๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง impermanence; transiency
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ state of suffering or being oppressed
๓. อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน soullessness; not-self

กรรม ๓ การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม action; deed
๑. กายกรรม กรรมทำด้วยกาย, การกระทำทางกาย bodily action
๒. วจีกรรม กรรมทำด้วยวาจา, การกระทำทางวาจา verbal action
๓. มโนกรรม กรรมทำด้วยใจ, การกระทำทางใจ mental action

กุศลมูล ๓ รากเหง้าของกุศล, ต้นตอของความดี whole some roots; roots of good actions
๑. อโลภะ ความไม่โลภ, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโลภะ, ความคิดเผื่อแผ่, จาคะnon-greed; generosity
๒. อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโทสะ, เมตตา non-hatred; love
๓. อโมหะ ความไม่หลง, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความหลง, ปัญญา non-delusion; wisdom

อกุศลมูล ๓ (รากเหง้าของอกุศล, ต้นตอของความชั่ว
unwholesome roots; roots of bad actions
๑. โลภะ ความอยากได้ greed
๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย hatred
๓. โมหะ ความหลง delusion



ปฏิจจสมุปบาท มีองค์หรือหัวข้อ ๑๒ การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน, ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น
the Dependent Origination; conditioned arising
๑/๒. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี Dependent on lgnorance arise Karma-Formations
๓. สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี Dependent on Karma-Formations arise Consciousness
๔. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป จึงมี Dependent on Consciousness arise Mind and Matter
๕. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี Dependent on Mind and Matter arise the Six Sense-Bases
๖. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี Dependent on the Six Sense-Bases arises Contact
๗. ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี Dependent on Contact arise Feeling
๘. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี Dependent on Feeling arise Craving
๙. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี Dependent on Craving arises Clinging
๑๐. อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพ จึงมี Dependent on Clinging arises Becoming
๑๑. ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ จึงมี Dependent on Becoming arises Birth
๑๒. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี Dependent on Birth arise Decay and Death
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม (There also arise sorrow, lamentation, pain, grief and despair
เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ.
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้
Thus arises this whole mass of suffering
แสดงตามลำดับ จากต้นไปหาปลายอย่างนี้ เรียกว่า อนุโลมเทศนา teaching in forward order ถ้าแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น ว่า ชรามรณะเป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขาร มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา (teaching in backward order
องค์ factors หรือหัวข้อ ๑๒ นั้น มีความหมายโดยสังเขป ดังนี
๑. อวิชชา ความไม่รู้ คือไม่รู้ในอริยสัจ ๔ หรือตามนัยอภิธรรม



ว่า อวิชชา ๘ (ดู) ๒๐๐ อวิชชา ๔; (๒๐๑) อวิชชา ๘
๒. สังขาร (Karma-formations) สภาพที่ปรุงแต่ง ได้แก่ (๑๑๙) สังขาร ๓ หรือ (๑๒๘) อภิสังขาร ๓
๓. วิญญาณ (consciousness) ความรู้แจ้งอารมณ์ ได้แก่ (๒๕๕) วิญญาณ ๖
๔. นามรูป (mind and matter) นามและรูป ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ หรือตามนัยอภิธรรมว่า นามขันธ์ ๓+รูป ดู (๒๐๘) ขันธ์ ๕ (ข้อ ๒-๓-๔) (๓๘-๔๑) รูป ๒-๒๘
๕. สฬายตนะ (six sense-bases) อายตนะ ๖ ได้แก่ (๒๖๒) อายตนะภายใน ๖
๖. ผัสสะ (contact) ความกระทบ, ความประจวบ ได้แก่ (๒๕๘) สัมผัส ๖
๗. เวทนา (feeling) ความเสวยอารมณ์ ได้แก่ (๑๑๒) เวทนา ๖
๘. ตัณหา (craving) ความทะยานอยาก ได้แก่ ตัณหา ๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น (ตัณหาในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัสทางกาย และในธัมมารมณ์ ดู (๗๓) ตัณหา ๓ ด้วย
๙. อุปาทาน (clinging; attachment) ความยึดมั่น ได้แก่ (๒๐๖) อุปาทาน ๔
๑๐. ภพ (becoming) ภาวะชีวิต ได้แก่ (๙๗) ภพ ๓ อีกนัยหนึ่งว่า ได้แก่ กรรมภพ (ภพคือกรรม — active process of becoming ตรงกับ (๑๒๘) อภิสังขาร ๓) กับ อุปปัตติภพ (ภพคือที่อุบัติ — rebirth-process of becoming ตรงกับ (๙๗) ภพ ๓)
๑๑. ชาติ (birth) ความเกิด ได้แก่ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะ
๑๒. ชรามรณะ (decay and death) ความแก่และความตาย ได้แก่ ชรา (ความเสื่อมอายุ, ความหง่อมอินทรีย์) กับ มรณะ (ความสลายแห่งขันธ์, ความขาดชีวิตินทรีย์)
ทั้ง ๑๒ ข้อ เป็นปัจจัยต่อเนื่องกันไป หมุนเวียนเป็นวงจร ไม่มีต้นไม่มีปลาย เรียกว่า ภวจักร (วงล้อหรือวงจรแห่งภพ — wheel of existence) และ มีข้อควรทราบเกี่ยวกับภวจักรอีกดังนี้
ก. อัทธา (periods; times) คือ กาล ๓ ได้แก่
๑) อดีต = อวิชชา สังขาร
๒) ปัจจุบัน = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
๓) อนาคต = ชาติ ชรา มรณะ (+ โสกะ ฯลฯ)
ข. สังเขป หรือ สังคหะ ๔ (sections; divisions) คือ ช่วง หมวด หรือ กลุ่ม ๔ ได้แก่
๑) อดีตเหตุ = อวิชชา สังขาร
๒) ปัจจุบันผล = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
๓) ปัจจุบันเหตุ = ตัณหา อุปาทาน ภพ
๔) อนาคตผล = ชาติ ชรา มรณะ (+ โสกะ ฯลฯ)
ค. สนธิ ๓ (links; connection) คือ ขั้วต่อ ระหว่างสังเขปหรือช่วงทั้ง ๔ ได้แก่
๑) ระหว่าง อดีตเหตุ กับปัจจุบันผล
๒) ระหว่าง ปัจจุบันผล กับปัจจุบันเหตุ
๓) ระหว่าง ปัจจุบันเหุต กับอนาคตผล
ง. วัฏฏะ ๓ ดู (๑๐๔) วัฏฏะ ๓
จ. อาการ ๒๐ (modes; spokes; qualities) คือองค์ประกอบแต่ละอย่าง อันเป็นดุจกำของล้อ จำแนกตามส่วนเหตุ (causes) และส่วนผล (effects) ได้แก่
๑) อดีตเหตุ ๕ = อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน ภพ
๒) ปัจจุบันผล ๕ = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
๓) ปัจจุบันเหตุ ๕ = อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน ภพ
๔) อนาคตผล ๕ = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
อาการ ๒๐ นี้ ก็คือ หัวข้อที่กระจายให้เต็ม ในทุกช่วงของสังเขป ๔ นั่นเอง
ฉ. มูล ๒ (roots) คือ กิเลสที่เป็นตัวมูลเหตุ ซึ่งกำหนดเป็นจุดเริ่มต้นในวงจรแต่ละช่วง ได้แก่
๑) อวิชชา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงอดีต ส่งผลถึงเวทนาในช่วงปัจจุบัน
๒) ตัณหา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงปัจจุบัน ส่งผลถึงชรามรณะในช่วงอนาคต
พึงสังเกตด้วยว่า การกล่าวถึงส่วนประกอบของภวจักรตามข้อ ก. ถึง ฉ. นี้ เป็นคำอธิบายในคัมภีร์รุ่นหลัง เช่น อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น
การแสดงหลักปฏิจจสมุปบาท ให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งธรรมต่างๆ โดยอาศัยปัจจัยสืบทอดกันไปอย่างนี้ เป็น สมุทยวาร คือฝ่ายสมุทัย ใช้เป็นคำอธิบายอริยสัจข้อที่ ๒ (สมุทัยสัจ) คือ แสดงให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจจสมุปบาท ที่แสดงแบบนี้ เรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุปบาท — direct Dependent Origination)
การแสดงหลักปฎิจจสมุปบาท ให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งธรรมต่างๆ โดยอาศัยปัจจัยสืบทอดกันไปอย่างนี้ เป็น สมุทยวาร คือฝ่ายสมุทัย ใช้เป็นคำอธิบายอริยสัจข้อที่ ๒ (สมุทัยสัจ) คือ แสดงให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจจสมุปบาท ที่แสดงแบบนี้ เรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุปบาท — direct Dependent Origination)
การแสดงในทางตรงข้ามกับข้างต้นนี้ เป็น นิโรธวาร คือฝ่ายนิโรธ ใช้อธิบายอริยสัจ ข้อที่ ๓ (นิโรธสัจ) เรียกว่า ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท (reverse Dependent Origination ซึ่งความจริงก็คือ Dependent Extinction นั่นเอง) แสดงให้เห็นความดับไปแห่งทุกข์ ด้วยอาศัยความดับไปแห่งปัจจัยทั้งหลายสืบทอดกันไป ตัวบทของปฏิจจสมุปบาทแบบปฏิโลมนี้ พึงเทียบจากแบบอนุโลมนั่นเอง เช่น
๑/๒. อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ (Through the total fading away and cessation of lgnorance, cease Karma-Formations.)
๓. สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ (Through the cessation of Karma-Formations. ceases Consciousness.)
ฯลฯ
๑๒. ชาตินิโรธา ชรามรณํ เพราะชาติดับ ชรามรณะ (จึงดับ) (Through the cessation go Birth, cease Decay and Death.)
โสกปริเทวทุกฺขโมทนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ
(Also cease sorrow, lamentation, pain, grief and despair.)
เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ.
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
(Thus comes about the cessation of this whole mass of suffering.)
นี้เป็นอนุโลมเทศนาของปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ส่วนปฏิโลมเทศนา ก็พึงแสดงย้อนว่า ชรามรณะ เป็นต้น ดับ เพราะชาติดับ ชาติดับเพราะภพดับ ฯลฯ สังขารด้วยเพราะอวิชชาดับ อย่างเดียวกับในอนุโลมปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาทนี้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก ที่สำคัญคือ อิทัปปัจจยตา (ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย — specific conditionality) ธรรมนิยาม (ความเป็นไปอันแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ — orderliness of nature; natural law) และ ปัจจยาการ (อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน — mode of conditionality; structure of conditions) เฉพาะชื่อหลังนี้เป็นคำที่นิยมใช้ในคัมภีร์อภิธรรม และคัมภีร์รุ่นอรรถกถา.


ดำริชอบ
๖๘) กุศลวิตก ๓ (ความตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงาม — wholesome thoughts)
๑. เนกขัมมวิตก(ความตรึกปลอดจากกาม, ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน — thought of renunciation; thought free from selfish desire)
๒. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคืองหรือเพ่งมองในแง่ร้าย — thought free from hatred)
๓. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย — thought of non-violence; thought free from cruelty)
A.III.446. องฺ.ฉกก. ๒๒/๓๘๐/๔๙๖.
________________________________________

(๖๙) อกุศลวิตก ๓ (ความตรึกที่เป็นอกุศล, ความนึกคิดที่ไม่ดี — unwholesome thoughts)
๑. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม, ความนึกคิดในทางแส่หาหรือพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยาก — thought of sensual pleasures)
๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยความขัดเคืองเพ่งมองในแง่ร้าย — thought full of hatred or ill-will; malevolent thought)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน, ความนึกคิดในทางทำลาย ทำร้ายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น — thought of violence or cruelty; cruel thought)

(๗๙) ทุจริต ๓ (ความประพฤติชั่ว, ประพฤติไม่ดี — evil conduct; misconduct)
๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย — evil conduct in act; misconduct by body) มี ๓ คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน และ กาเมสุมิจฉาจาร
๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา — evil conduct in word; misconduct by speech) มี ๔ คือ มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา และ สัมผัปปลาปะ
๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ — evil conduct in thought; misconduct by mind) มี ๓ คือ อภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ)
ดู รายละเอียดที่ (๓๐๙) อกุศลกรรมบถ ๑๐.
D.III.214; Dhs.1305. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๒๗; อภิ.สํ.๓๔/๘๔๐/๓๒๗.
________________________________________

(๘๐) สุจริต ๓ (ความประพฤติดี, ประพฤติชอบ — good conduct)
๑. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย — good conduct in act) มี ๓ คือ งดเว้นและประพฤติตรงข้ามกับ ปาณาติบาต อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร
๒. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา — good conduct in word) มี ๔ คือ งดเว้นและประพฤติตรงข้ามกับ มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา และ สัมผัปปลาปะ
๓. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ — good conduct in thought) มี ๓ คือ อนภิชฌา อพยาบาท และ สัมมาทิฏฐิ.
ดู รายละเอียดที่ (๓๐๘) กุศลกรรมบถ ๑๐.



(๑๕๕) ปธาน ๔ (ความเพียร - effort; exertion)
๑. สังวรปธาน (เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น - the effort to prevent; effort to avoid)
๒. ปหานปธาน (เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว - the effort to abandon; effort to overcome)
๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี - the effort to develop)
๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ - the effort to maintain)
ปธาน ๔ นี้ เรียกอีกอย่างว่า สัมมัปธาน ๔ (ความเพียรชอบ, ความเพียรใหญ่ - right exertions; great or perfect efforts.)

๑๗๙) สติปัฏฐาน ๔ (ที่ตั้งของสติ, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเอง - foundations of mindfulness)
๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามเป็นจริง ว่า เป็นเพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of the body; mindfulness as regards the body) ท่านจำแนกปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ ๑ อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ ๑ สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหว้ทุกอย่าง ๑ ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ ๑ ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ ๑ นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน ๙ ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น ๑
๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of feelings; mindfulness as regards feelings) คือ มีสติรู้ชัดเวทนาอันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิสตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of mind; mindfulness as regards thoughts) คือ มีสติรู้ชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of mind-objects; mindfulness as regards ideas) คือ มีสติรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ ๕ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ.
D.II.290.315. ที.ม.๑๐/๒๗๓-๓๐๐/๓๒๕-๓๕๑


๑๘๖) สัมปชัญญะ ๔ (ความรู้ตัว, ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ชัด, ความรู้ทั่วชัด, ความตระหนัก - clear comprehension; clarity of consciousness; awareness)

๑. สาตกสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักในจุดหมาย คือ รู้ตัวตระหนักชัดว่าสิ่งที่กระทำนั้นมีประโยชน์ตามความมุ่งหมายอย่างไรหรือไม่ หรือว่า อะไรควรเป็นจุดมุ่งหมายของการกระทำนั้น เช่น ผู้เจริญกรรมฐาน เมื่อจะไป ณ ที่ใดที่หนึ่ง มิใช่สักว่ารู้สึกหรือนึกขึ้นมาว่าจะไป ก็ไป แต่ตระหนักว่าเมื่อไปแล้ว จะได้ปีติสุขหรือความสงบใจ ช่วยให้เกิดความเจริญโดยธรรม จึงไป โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะเลือกทำสิ่งที่ตรงกับวัตถุประสงค์หรืออำนวยประโยชน์ที่มุ่งหมาย - clear comprehension of purpose)

๒. สัปปายสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักในความเหมาะสมเกื้อกูล คือรู้ตัวตระหนักชัดว่าสิ่งของนั้น การกระทำนั้น ที่ที่จะไปนั้น เหมาะกันกับตน เกื้อกูลแก่สุขภาพ แก่กิจ เอื้อต่อการสละละลดแห่งอกุศลธรรมและการเกิดขึ้นเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรม จึงใช้ จึงทำ จึงไป หรือเลือกให้เหมาะ เช่น ภิกษุใช้จีวรที่เหมาะกับดินฟ้าอากาศและเหมาะกับภาวะของตนที่เป็นสมณะ ผู้เจริญกรรมฐานจะไปฟังธรรมอันมีประโยชน์ในที่ชุมนุมใหญ่ แต่รู้ว่ามีอารมณ์ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อกรรมฐาน ก็ไม่ไป โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะเลือกทำแต่สิ่งที่เหมาะสบายเอื้อต่อกาย จิต ชีวิต กิจ พื้นภูมิ และภาวะของตน - clear comprehension of suitability)

๓. โคจรสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงามของตน คือ รู้ตัวตระหนักชัดอยู่ตลอดเวลาถึงสิ่งที่เป็นกิจ หน้าที่ เป็นตัวงาน เป็นจุดของเรื่องที่ตนกระทำ ไม่ว่าจะไปไหนหรือทำอะไรอื่น ก็รู้ตระหนักอยู่ ในปล่อยให้เลือนหายไป มิใช่ว่าพอทำอะไรอื่น หรือไปพบสิ่งอื่นเรื่องอื่น ก็เตลิดเพริดไปกับสิ่งนั้นเรื่องนั้น เป็นนกบินไม่กลับรัง โดยเฉพาะการไม่ทิ้งอารมณ์กรรมฐาน ซึ่งรวมถึงการบำเพ็ญจิตตภาวนาและปัญญาภาวนาในกิจกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวัน โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะคุมกายและจิตไว้ให้อยู่ในกิจ ในประเด็น หรือแดนงานของตน ไม่ให้เขว เตลิด เลื่อนลอย หรือหลงลืมไปเสีย - clear comprehension of the domain)

๔. อสัมโมหสัปชัญญะ รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวเนื้อหาสภาวะ ไม่หลงใหลฟั่นเฟือน คือเมื่อไปไหน ทำอะไร ก็รู้ตัวตระหนักชัดในการเคลื่อนไหว หรือในการกระทำนั้น และในสิ่งทีกระทำนั้น ไม่หลง ไม่สับสนเงอะงะฟั่นเฟือน เข้าใจล่วงตลอดไปถึงตัวสภาวะในการกระทำที่เป็นไปอยู่นั้น ว่าเป็นเพียงการประชุมกันขององค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ ประสานหนุนเนื่องกันขึ้นมาให้ปรากฏ เป็นอย่างนั้น หรือสำเร็จกิจนั้นๆ รู้ทันสมมติ ไม่หลงสภาวะเช่นยึดเห็นเป็นตัวตน โดยสาระคือ ความรู้ตระหนัก ในเรื่องราว เนื้อหา สาระ และสภาวะของสิ่งที่ตนเกี่ยวข้องหรือกระทำอยู่นั้น ตามที่เป็นจริงโดยสมมติสัจจะ หรือตลอดถึงโดยปรมัตถสัจจะ มิใช่พรวดพราดทำไป หรือสักว่าทำ มิใช่ทำอย่างงมงายไม่รู้เรื่อง และไม่ถูกหลอกให้ลุ่มหลงหรือเข้าใจผิดไปเสียด้วยความพร่ามัว หรือด้วยลักษณะอาการภายนอกที่ยั่วยุ หรือเย้ายวนเป็นต้น - clear comprehension of non-delusion, or of reality)

DA.I.183; VbhA.347 ที.อ.๑/๒๒๘; วิภงฺค.อ.๔๕๑

ฌาน ๒ (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ — meditation; scrutiny; examination)

๑. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ — object-scrutinizing Jhana)

๒. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล — characteristic-examining Jhana)

วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง

ฌานที่แบ่งเป็น ๒ อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา.
ดู [๘] [๙] [๑๐] ฌาน ต่าง ๆ และ [๔๗] สมาธิ ๓

AA. II. 41; PsA.281; DhsA. 167. องฺ.อ. ๑/๕๓๖; ปฏิสํ.อ. ๒๒๑; สงฺคณี.อ. ๒๗๓


--------------------------------------------------------------------------------


(๘) ฌาน ๒ ประเภท (ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ — absorption)

๑. รูปฌาน ๔ (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นรูปาวจร — Jhanas of the Fine-Material Sphere)

๒. อรูปฌาน ๔ (ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นอรูปาวจร —Jhanas of the Immaterial Sphere)

คำว่า รูปฌาน ก็ดี อรูปฌาน ก็ดี เป็นคำสมัยหลัง เดิมเรียกเพียงว่า ฌาน และ อารุปป์.

D.III. 222; Dhs. 56. ที.ปา. ๑๑/๒๓๒/๒๓๓; อภิ.สํ. ๓๔/๑๙๒/๗๘.


--------------------------------------------------------------------------------


(๙) ฌาน ๔ = รูปฌาน ๔ (the Four Jhanas)

๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑ — the First Absorption) มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒ — the Second Absorption) มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา

๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓ — the Third Absorption) มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา

๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔ — the Fourth Absorption) มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา

คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม นิยมแบ่งรูปฌานนี้เป็น ๕ ขั้น เรียกว่า ฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน โดยแทรก ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ที่มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เพิ่มเข้ามา แล้วเลื่อนทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตฌาน ในฌาน ๔ ข้างต้นนี้ออกไปเป็น ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ตามลำดับ (โดยสาระก็คือ การจำแนกขั้นตอนให้ละเอียดมากขึ้นนั่นเอง)

M.I.40 ม.มู. ๑๒/๑๐๒/๗๒


--------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้ายกำกับ

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก