วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

มรรค 8

มรรคมีองค์ ๘ หรือ อัฏฐังคิกมรรค อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ
the noble Eightfold Path);
องค์ ๘ ของมรรค มัคคังคะ factors or constituents of the Path มีดังนี้
๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ได้แก่
ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ
เห็นไตรลักษณ์ หรือ
รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือ
เห็นปฏิจจสมุปบาท
Right View; Right Understanding)

อริยสัจ ๔ ความจริงอันประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ
The Four Noble Truths
๑. ทุกข์ ความทุกข์, สภาพที่ทนได้ยาก, สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง, ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
suffering; unsatisfactoriness
๒. ทุกขสมุทัย เหตุเกิดแห่งทุกข์, สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
the cause of suffering; origin of suffering
๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป, ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกต้อง ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คือนิพพาน
the cessation of suffering; extinction of suffering
๔. ทุกขนิโรธคามีนิปฏิปทา (ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง มรรคมีองค์ ๘ นี้ สรุปลงในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
the path leading to the cessation of suffering

อริยสัจ ๔ นี้ เรียกกันสั้นๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การแสดงอริยสัจ ๔ นี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามุกกังสิกา ธรรมเทศนา (เช่น องฺ.อฏฺก.๒๓/๑๐๒/๑๙๐) แปลตามอรรถกถาว่า พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงหยิบยกขึ้นถือเอาไว้ด้วยพระองค์เอง คือ ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ (= ตรัสรู้เอง) ไม่สาธารณะแก่ผู้อื่น (แต่ตามที่อธิบายกันมา มักแปลว่า พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง โดยไม่ต้องปรารภคำถามหรือการทูลขอร้องของผู้ฟัง อย่างการแสดงธรรมเรื่องอื่นๆ; ความจริง จะแปลว่า พระธรรมเทศนาขั้นสุดยอดก็ได้ ซึ่งสมกับเป็นเรื่องที่ทรงแสดงท้ายสุดต่อจาก อนุปุพพิกถา ๕ คำแปลอย่างหลังนี้ พึงเทียบ องฺ.ทสก.๒๔/๙๕/๒๐๘)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป — Right Thought) ดู (๖๘) กุศลวิตก ๓
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔ — Right Speech)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ — Right Action)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ — Right Livelihood)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔ — Right Effort)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ — Right Mindfulness)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ — Right Concentration)
องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ ข้อ ๓-๔-๕ เป็น ศีล ข้อ ๖-๗-๘ เป็น สมาธิ ข้อ ๑-๒ เป็น ปัญญา ดู (๑๒๓) สิกขา ๓; (๑๙๗) อริยสัจ ๔; และหมวดธรรมที่อ้างถึงทั้งหมด
มรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ดู (๑๕) ที่สุด ๒



อัฏฐกะ-หมวด ๘

Groups of Eight
(including related groups)
(***) ฌาน ๘ ดู (๑๐) ฌาน ๘.
(๒๗๘) มรรคมีองค์ ๘ หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ — the noble Eightfold Path); องค์ ๘ ของมรรค (มัคคังคะ — factors or constituents of the Path) มีดังนี้
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท — Right View; Right Understanding)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป — Right Thought) ดู (๖๘) กุศลวิตก ๓
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔ — Right Speech)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ — Right Action)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ — Right Livelihood)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔ — Right Effort)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ — Right Mindfulness)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ — Right Concentration)

องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ ข้อ ๓-๔-๕ เป็น ศีล ข้อ ๖-๗-๘ เป็น สมาธิ ข้อ ๑-๒ เป็น ปัญญา ดู (๑๒๓) สิกขา ๓; (๑๙๗) อริยสัจ ๔; และหมวดธรรมที่อ้างถึงทั้งหมด
มรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ดู (๑๕) ที่สุด ๒



ขออนุญาตและขออนุโมทนาบุญกับท่านเจ้าคุณประยุกต์ ปยุตโต

ป้ายกำกับ

ป้ายกำกับ