วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

การทำให้ค้าขายคล่อง

คำนมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ)
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
ศิล 5...
อิติปิโส ภควา ... (จะพิมพ์เพิ่มในโอกาสหน้า)

พระคาถาเงินล้าน
(นะโม ๓ จบ)
สัมปะจิตฉามิ
นาสังสิโม
พรหมมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะระยันติ
พรหมมาจะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุเม
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุเม
มิเตภาหุหะติ
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง
วิริหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย
พุทธัสสะมานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม
สัมปะติจฉามิ
เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤาๆ


การทำให้ค้าขายคล่อง

การที่จะติดต่อทำธุรกิจกับใครเราจะต้องรู้จักการเชื่อมบุญ การขออโหสิกรรม การแผ่เมตตาเสียก่อน เพื่อต้องการให้เขามาซื้อสินค้าเรา ก่อนที่จะทำต้องมีศรัทธาและเชื่อมั่นว่าหนทางน่าจะช่วยเราได้ และต้องอาศัยคาถาเงินล้านที่สวดด้วยจิตอันตั้งมั่น ไร้ความอยาก ความโลภ ความอยากต่าง ๆ ที่เป็นกิเลศให้สวดด้วยความมีเมตตา ความกรุณา ความรัก ให้มโนภาพเห็นแสงสว่างสีขาวอันนุ่มนวล แผ่ความกรุณาไพศาล ให้เห็นกลีบดอกบัวสีขาวเป็นล้าน ๆ กลีบ แผ่ความรักความกรุณาจากเหนือกลางกระหม่อมออกไปถึงบุคคลนั้น หรือมวลมนุษย์ สรรพสัตว์ ตลอดถึงจักรวาลทั้ง ๓ ภพ

“ขอให้ท่านทั้งหลาย จงเป็นสุข ๆๆๆ ทุกท่านทุกคนเทอญ ” เป็นการเสริมบุญเก่าที่เคยทำมาด้วยกัน และเพิ่มบุญใหม่เข้าไปช่วยมีการกล่าวขออโหสิกรรม และให้อโหสิกรรมต่อกัน

วิธีการใส่บาตรวิระทะโยและการนับลูกประคำเพื่อให้เกิดความคล่องตัว

๑.นำเงินใส่ไว้ในมือ พร้อมกับพนมมือ ตั้งนะโม ๓ จบ ต่อด้วยการสวดไตรสรณคมน์ พร้อมทั้งนึกถึงความหมายของบทสวด
๒.สวดคาถาเงินล้านจำนวน ๓,๕,๗,๙ จบ แล้วแต่ตามความเหมาะสม ในขณะที่สวดให้นึกถึงสมเด็จองค์ปฐม องค์ปัจจุบัน พระปัจเจกพระพุทธเจ้า หลวงพ่อปาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ โดยจิตต้องไม่อยากมีอยากได้ หรือหวังผลจากการใด ๆ
๓.นำเงินหยอดลงไปในบาตรวิระทะโย เมื่อเงินตกลงในบาตรแล้ว ในทันทีให้นึกว่า “ขอบุญกุศลนี้จงถึงแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทพลาด พลั้งล่วงเกิน ทั้งต่อหน้าก็ดีและลับหลังก็ดี ทั้งมีเจตนาก็ดีไม่มีเจตนาก็ดี ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า และขอบุญกุศลนี้จงถึงแก่เทวดาที่ปกปักษ์รักษาข้าพเจ้า และเทวดาที่รักษาประตูเงินประตูทองของข้าพเจ้า พร้อมทั้งท่านท้าวพญายมราชขอจงมโนทนาผลบุญส่วนกุศลนี้ และจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญบุญครั้งนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
๔. ให้ปฏิบัติอย่างนี้เป็นประจำทุกวัน เมื่อเงินเต็มบาตรให้นำเงินจำนวนนี้ไปทำบุญเพื่อสร้างวิหารทาน ห้องน้ำ หรือถวายเป็นสังฆทาน ตามวัดที่มีพระผู้ปฏิบัติกรรมฐาน

การนับลูกประคำ
๑.ให้จับประคำโทนพร้อมทั้งตั้งนะโม ๓ จบ ต่อด้วยการสวดไตรสรณคมน์ พร้อมทั้งนึกถึงความหมายของบทสวด และให้กำหนดจิตไปที่กึ่งกลางของลูกประคำ
๒.สวดคาถาเงินล้าน ขณะนั้นให้กำหนดจิตเพ่งไปที่ลูกประคำจนสวดจบ ๑ บท ต่อจากนั้นให้นิ้วจับที่ลูกประคำลูกต่อไปพร้อมทั้งสวดคาถาเงินล้าน จิตก็กำหนดจิตเพ่งไปที่กึ่งกลางของลูกประคำ ให้ทำเช่นนี้ไปจนครบลูกประคำทั้งเส้น
๓.วิธีการนับลูกประคำนี้ นอกจากจะทำให้เกิดความคล่องตัวแล้ว ยังสามารถใช้ในการเสี่ยงทาย หรือช่วยในการตัดสินใจกระทำการต่าง ๆ ว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่
-โดยในขณะที่ทำการนับลูกประคำนั้น สามารถนับไปจนครบไม่ติดขัดแสดงว่าสิ่งที่ตัดสินใจทำการใด ๆ นั้น จะประสบความสำเร็จ
-หากแม้นว่ามีสิ่งที่ทำให้การนับสะดุด หรือติดขัดไม่สามารถสวดได้จนจบครบทั้งเส้น แสดงว่าไม่ควรที่จะตัดสินใจทำการต่าง ๆ นั้น เพราะจะเกิดปัญหา หรือไม่ประสบความสำเร็จ ในระหว่างที่ทำการนับนั้น จะพูดคุย นั่ง เดิน หรือกระทำกิจการใด ๆ ก็ขอให้จิตเพ่งอยู่ที่กึ่งกลางของลูกประคำอยู่ตลอด วิธีการนี้สามารถช่วยให้มีความคล่องตัวในช่วงเวลาที่ขัดสน หรือติดขัดทางด้านการเงิน

และ ให้ตั้งสัจจะอธิษฐานถึงคนคนนั้น และเรื่องสินค้าที่จะขายให้กับเขา ขอให้บุญกุศลที่ทำนั้นเป็นการเชื่อมบุญระหว่างกันและกันเพื่อให้กรรมที่อาจ จะมีต่อกัน เบาบางลงไป และจะต้องรักษาศีลตามอัตถภาพ จะต้องทำให้ได้ตามสัจจะที่ให้ไว้ ๓ วัน ๗ วัน ๑๐ วัน แต่ทางที่ดีควรรักษาให้ได้ตลอดดังพระบาลีที่ว่า สีเลนะโภคสัมปทา แปลว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยศึล ย่อมเป็นผู้มีโภคมาก

และ อยากจะแนะนำท่านที่เป็นพ่อค้า แม่ขาย จะขายอะไรก็ตาม ลูกค้าที่เข้ามาจับจ่ายซื้อของนั้น เขาก็คือ เจ้ากรรมนายเวรแบบมีชีวิตด้วยเหมือนกัน เมื่อเขาเอาเงินเอาบุญมาส่งให้ ก็ควรจะทำการอุทิศบุญให้เขาด้วย เป็นการเชื่อมบุญ (ให้กำหนดจิตดังได้อธิบายไว้เบื้องต้นนั้น) เสริมบุญกระตุ้นความดีในดวงจิตของเขาให้มีมากขึ้น ให้เขาเอาบุญมาให้เราอีกมาเป็นขาประจำ อุดหนุนกันไปตลอด การค้าจะรุ่งเรือง

อีกอย่างการจะใช้ชีวิตให้มีความสุขและมั่งคั่งนั้น ต้องรู้จักเทวดาผู้ที่รักษาตัวเราเสียก่อน มีหลายจำพวก พวกหนึ่งก็คอยรักษาคุ้มครองป้องกัน ปัดเป่าคอยให้คำชี้แนะ ดลใจ อีกพวกหนึ่งก็คอยดูแลประตูเงินทองให้ความยับยั้งชั่งใจ และใช้จ่ายเงินทองอย่างระมัดระวัง ถ้าผู้ใดเป็นหนี้เราหรือทรัพย์สินของเราสูญหาย ก็สามารถนำกลับคืนมาให้เราได้ดังเดิม ทุกครั้งที่เราจะกระทำบุญต่าง ๆ ต้องอย่าลืมอุทิศบุญให้แก่เทวดาที่รักษาตัวของเราด้วยทุกครั้ง เพื่อให้เขาได้มีกำลังและสามารถนำบุญของเราไปผลัดผ่อนให้กับเจ้ากรรมนายเวร ของเราได้ เทวดาทั้งหลายเหล่านี้ส่วนมากก็คือ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ และผู้มีพระคุณต่อเรา และเรามีบุญคุณต่อเขาทั้งหลาย จึงมีกรรมผูกพันต่อเรา

อีกอย่างเราจะต้องอุทิศบุญให้แก่เจ้ากรรมนายเวรของเราด้วย ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตทั้งหมด เพื่อที่จะให้อุปสรรคทั้งทางเรื่องการเงิน การงาน เบาบางหรือหายไปด้วยการหนุนบุญให้สูงขึ้น สิ่งที่สำคัญที่ทำให้เจ้ากรรมนายเวรอโหสิและเสริมการเงิน และการงาน คือ

ทาน การให้ การให้ต้องให้ของที่ดี ตั้งใจดี ผู้รับดี
ศีล คือการงดเว้น การไม่ก่อกรรมเวรเพิ่มขึ้น เพื่อตัดอุปสรรคการเงิน การงานต่าง ๆ
ภาวนา ต้องทำให้ได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่ ทุกอิริยาบถ

ข้อแนะนำการเตรียมตัวก่อนทำสมาธิ

- การหาเวลาที่เหมาะสม เช่น ไม่ใช้เวลาใกล้เที่ยงเป็นต้น จะทำให้เกิดอาการหิวข้าว หรือทำใกล้เวลารับประทานอาหาร และไม่รับประทานอิ่มเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการง่วงนอน
- การหาสถานที่ที่เหมาะสม ไม่อยู่ในสถานที่อึกทึก ครึกโครม
- เสร็จจากธุระภารกิจต่าง ๆ ไม่ให้มีเรื่องกังวล
- อยู่ในอาการท่าทางที่สบาย ไม่ติดขัด แต่อย่าอยู่ในท่าที่เกียจคร้าน เช่น การนอนหงายบ่อย ๆ เป็นต้น
- ไม่ควรนึกถึงผลและคาดหมายหวังสิ่งต่าง ๆ เพราะเป็นการสร้างความกดดันทางใจ โดยไม่รู้ตัว และเกิดความกระวนกระวาย ทำให้จิตไม่เกิดสมาธิ ต้องทำใจให้ว่างมากที่สุด
- ต้องทำให้การนั่งแต่ละครั้ง ต้องทำให้ดีที่สุดตามเวลาที่กำหนดไว้
- ต้องทำให้เกิดความชำนาญ ทำทุกวัน ให้เกิดความเคยชินเป็นนิสัย
- ที่สำคัญต้องมีความเมตตาแผ่ไพศาลและต้องตัดปลิโพธิ คือ ความห่วงใยต่าง ๆ และเอาจิตจดจ่อในสิ่งที่ตนภาวนาหรือกระทำอยู่ ให้ความเพียวและสติสม่ำเสมอกัน อย่ามากกว่ากัน อย่าต่ำกว่ากัน


ขออนุญาตคัดลอก และอนุโมทนาบุญกับผู้สอนและผู้เขียน
ขอให้ได้กุศลด้วยกันทั้งผู้สอน ผู้เขียนและผู้เผยแพร่

ป้ายกำกับ

ป้ายกำกับ