วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

อย่าพูดว่า ทำกรรมฐานแล้ว ไม่ต้องทำบุญทำทานอะไรอีก

อย่าพูดว่า ทำกรรมฐานแล้ว ไม่ต้องทำบุญทำทานอะไรอีก

อย่างที่หลายๆคนอาจจะเคยอ่าน หรือเคยทราบมาเกี่ยวกับเรื่อง ทาน ศีล ภาวนา ว่า การทำทานได้บุญน้อยที่สุด การถือศีลย่อมได้บุญมากกว่าทำทาน ส่วนภาวนาย่อมได้บุญมากกว่าถือศีล ดังนั้นบางคนอาจจะเข้าใจหรือคิดเอาง่ายๆเข้าว่า ถ้าเช่นนั้น เราก็เจริญภาวนาอย่างเดียวก็พอ เพราะได้บุญมากกว่าทำอย่างอื่น

โดยส่วนตัวแล้วไม่คิดเช่นนั้น เพราะว่า ทาน ศีล หรือภาวนาก็ดี เป็นปัจจัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน อย่างบางคนเกิดมาฐานะยากจน คิดจะทำบุญทำทานอะไรก็ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ด้วยมีข้อจำกัด ต้องทำงานหาเช้ากินค่ำ หรืออาจต้องฆ่าสัตว์มายังชีพก็เป็นได้ แต่ถ้าเกิดเป็นคนรวย คิดจะทำบุญทำทาน ถือศีล ภาวนาก็เป็นเรื่องง่ายดาย (เหมือนเอาบุญไปต่อบุญ)

จขบ.อ่านหนังสือเจอ เกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงหยิบยกมาให้เพื่อนๆได้อ่านกันค่ะ

จากหนังสือเตือนสติผู้ปฏิบัติธรรม ของพระธรรมธีรราชมหามุนี (เจ้าคุณโชดก ปธ.๙)

"อย่าพูดว่า ทำกรรมฐานแล้ว ไม่ต้องทำบุญทำทานอะไรอีก"

การทำบุญทำทานเป็นการสร้างความดี ไม่ใช่สร้างความชั่ว ผู้ที่มีใจถึงธรรมแล้ว จะมีใจเปี่ยมด้วยปสาทศรัทธาอันแก่กล้าอยู่เสมอ ย่อมจะบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนาเป็นประจำ แม้โบราณท่านก็สอนไว้ว่า “อยากรวย อยากสวย อยากดี”
อยากรวย ให้พากันทำทาน
อยากสวย ให้พากันรักษาศีล
อยากดี ให้พากันเจริญภาวนา

เกิดเป็นคนต้องทำตนให้ได้องค์๓ จึงจะไม่เสียชาติเกิด
บางคนเกิดมาร่ำรวย แต่รูปขี้เหร่ เพราะชาติปางก่อนทำทาน แต่ไม่รักษาศีล
บางคนรูปสวย แต่ยากจน เพราะชาติก่อนรักษาศีล แต่ไม่ทำทาน
บางคนมีปัญญาดี แต่ยากจน และไม่สวย เพราะชาติก่อนบำเพ็ญแต่ภาวนา
แต่ไม่ได้ให้ทาน และรักษาศีลเป็นคู่กันไป
เพราะฉะนั้น ต้องบำเพ็ญให้มีทั้ง ๓อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา จึงจะถูกหลัก

เรื่องนี้เคยมีนางสุมนาไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า มีคน๒คน ในเวลาปฏิบัติธรรม มีศีล สมาธิ ปัญญาเท่าๆกัน แต่อีกคนหนึ่งชอบทำทานบ่อยๆ คนหนึ่งไม่ทำเลย เวลาตายไปแล้ว ๒คนนี้จะแตกต่างกันอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?

พระพุทธองค์ตอบว่า ดูก่อนนางสุมนา คนที่ทำทานนั้น ตายไปแล้วถ้าไปเกิดในสวรรค์อุดมสมบูรณ์ดีทุกๆอย่าง ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ก็อุดมสมบูรณ์ไม่อดไม่อยาก ถ้าออกบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา ก็เพียบพร้อมไปด้วย ปัจจัย๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ ยาแก้ไข้ มีแต่คนมางอนง้อให้ใช้เสียซ้ำไป

ส่วนคนที่ไม่ทำทานนั้น จะไปเกิดที่ไหนก็ยากจนเข็ญใจ มีแต่อาศัยเขาอยู่ แม้ออกบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา ก็ขาดๆ เขินๆ มีแต่ขอเขาใช้ไม่อุดมสมบูรณ์เลยดังนี้ เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า บุญกุศลนั้นยิ่งทำมากเท่าไร ก็ยิ่งดีนัก เพราะเป็นประโยชน์ เป็นที่พึ่งแก่ตนทั้งโลกนี้และโลกหน้า ดังบาลีว่า

ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฐา โหนฺติ ปาณินํ บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ในโลกหน้าดังนี้

อุ ป ป า ต ะ สั น ติ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.

ขอความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น…………..

คันถารัมภะ
(คำเริ่มต้นคัมภีร์)

(ก) สุทุททะโส อะยัง ธัมโม โลกัตถัง ชินะเทสิโต
มะหาสันติกะโร โลเก สัพพะสัมปัตติทายะโก.

ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ เพื่อประโยชน์ของสัตว์โลก
เป็นธรรมที่เห็นได้ยากยิ่ง สำหรับธรรมที่จะกล่าวต่อไปนี้
เป็นธรรมที่สามารถกระทำความสงบอันประเสริฐ
และสามารถประทานซึ่งสมบัติทั้งปวง

(ข) สัพพุปปาตูปะสะมะโณ ภูตะยักขะนิวาระโณ
อะกาละมัจจุสะมะโณ โสกะโรคะวินาสะโน.

เป็นเครื่องสงบเหตุร้ายทั้งปวง เป็นเครื่องป้องกันอมนุษย์และยักษ์
เป็นเครื่องระงับความตายก่อนกำหนดเวลา
เป็นเครื่องขจัดความเศร้าโศกและโรค

(ค) ปะระจักกะปะมัททะโน รัญโญ วิชะยะวัฑฒะโน
สัพพานิฏฐะหะโร สันโต ธัมมัง วักขามิ ภูตะโต.

เป็นเครื่องย่ำยีกำลังของข้าศึก เป็นเครื่องจำเริญชัยชนะแด่พระราชา
เป็นเครื่องนำสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาทั้งปวงออกไป
เป็นธรรมอันประเสริฐ

ข้าพเจ้า (พระสีละวังสะมหาเถระ) จักแสดงคุณธรรมเช่นนั้น
ตามสภาพที่เป็นจริง

(ฆ) วัตถุตตะยัสสะ โย ยัตถะ สังวัณเณติ คุณุตตะเม
ตัสสะ ตัตถะ สุขาโรคฺยะ- โสตถิโย โหนติ สัพพะทา.

ณ ที่ใด มีผู้กล่าววาจาสรรเสริญพระคุณอันประเสริฐของพระรัตนตรัย
ด้วยจิตที่เลื่อมใส ณ ที่นั้น ความสุข ความสบาย และความสวัสดี
ย่อมมีแก่ผู้นั้นตลอดกาลทุกเมื่อ

(มีต่อ)

ป้ายกำกับ

ป้ายกำกับ