วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

*เรียบเรียงพระอาการวัตตสูตร

โอม ศรี คะเณศายะ นะมะ ฮา ขอความสำเร็จในด้านต่าง ๆ มีโชค มีทรัพย์ เงินทอง สมปรารถนา
โอม นะโม นารายะณายะ นะมะ (ณะ มัช)
โอม ลักษะ มะไย นะมะ
โอม นะมะ (นะมัส) ศิวายะ ขอพรคุ้มครองป้องกันสรรพภัย
โอม ปาระวัต ตไย นะม
โอม ศรี พรัม หมะ เณ นะมะ (พรหมา ยะ ณะมัช) ขอลาภขอผลและเป็นสิ่งมงคลดีงามกับเรา
โอม สะรัส วะ ตไย นะมะ

พระสุนทรีวาณี:อีกภาคหนึ่งของทางฮินดูก็คือพระแม่สุรัสวดี เทพแห่งปัญญา การเจรจาค้าขาย
ขอขมาและระลึกถึงคุณ บูชาและ อารธนา
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์ นะโมพุทธายะ
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกโพธิ์ พระธรรม พระสงฆ์
บิดามารดาทุกภพทุกชาติ
ครูบาอาจารย์ทุกภพทุกชาติ สังเวชนียสถาน 4 พระโพธิ์สัตว์
หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อโตบางลี หลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา
พระพุทธชินราช พระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์
หลวงพ่อพุทธมงคล และพระประธานในพระอุโบสถที่ข้าพเจ้าได้ไปนมัสการมา

ท่านเจ้าประคุณหลวงปู่อรุกขเทวาจักระพรหมมุนี อิกะวิติพุทโธ อะมะมะวา
พระครูฤษี พ่อครูฤษีกลัยโกฎิมหาพรหมฤษี อิติปิโสภควา โชคดี
พระฤษีนารอท พระฤษีนารายณ์ พระฤษีกลัยโกฎิ พระฤษีพุทธมงคล พระฤษีสิงหดาบส พระฤษีสัจจพันธ์คีรี
พระฤษีมุนีดาบส พระฤษีหน้าวัว พระฤษีตาไฟ พระฤษีกสสป พระฤษีศรีจันทร์ พระฤษีทั้ง 108 พระองค์

หลวงปู่ทวด สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี หลวงพ่อเงิน หลวงพ่อแย้ม หลวงปู่ศุข
หลวงปู่มั่น หลวงพ่อจง หลวงพ่อปาน โสนันโท หลวงพ่อสด หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
หลวงพ่อดำ วัดมุจลินทร์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ท่านพ่อลี หลวงพ่อโอภาสี
พระธรรมธีราชมุณี (โชดก ญาณสิทธิ)หลวงพ่อหนอ หลวงพ่อฤษีลิงดำ

พรหม อรูปพรหม เทพไท้เทวา เทวสตรี ทุกรูปทุกนาม แม่พระธรณี แม่รวงข้าว
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสถานที่นี้และในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่

ข้าพเจ้าเคยได้ไปอธิษฐานไว้ จะสวดมนต์ถวาย ขอหลวงปู่ได้
โปรดเมตตาน้อมนำท่านทั้งหลาย ร่วมสวดบทพระอาการวัตตสูตร เพื่อเพิ่มกำลัง
พร้อมกันกับข้าพเจ้าเพื่อถวายเป็นบูชาและอนุโมทนาบุญ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้ด้วยเถิด

และผู้ที่ต้องการบุญนี้จงอนุโมทนาบุญได้ทันทีเทอญ

คาถาพระสุนทรีวาณี

ตั้ง นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรีปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนังฯ
(ท่อง สาม ห้า หรือ เจ็ด จบพร้อมคำแปล)

ทำการค้าขาย โชคลาภ ให้ภาวนาเพิ่มว่า...
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
โส มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา
สา มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา

คำแปล:นางฟ้า คือพระไตรปิฎกอันเกิดจากดอกอุบล คือพระโอษฐ์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้พึ่งพำนักของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงยังใจของข้าพเจ้าให้เอิบอิ่มปรีดาปราโมทย์ รู้แจ่มแจ้งแทงตลอดจำได้ ปฏิบัติตามได้ ในพระไตรปิฏกทั้งโลกียะและโลกุตตระนั้นเทอญ

เอวัเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะ คะเห วิหาระติ คิชฌะกูเฎ ปัพพะเต อะถะโข อายัสมา
สาริปุตโต เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตตะวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง นิสิทิ


ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพพุคคะโต
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทธโธ วิชชาจะระนะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
โส อิมัง โลกัง สะเทวะวัง สะมาระกัง สะพรัมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง
สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ
โส ภะคะวา จักขุภูโต ญาณะภูโต ธัมมะภูโต ตัสสะทา ปะวัตตา
อัสสะ ชะเนนตา อะมะตัสสะ ทาตา
ธัมมะสามิ ธัมมะราชา ธังมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง
สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละ ปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ

1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
(พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)
คำแปล พระพุทธคุณวรรคที่1 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงครอบงำความทุกข์ได้ ทรงไม่มีความลับ ทรงบริสุทธิ์ หมดจดดี เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น
ทรงฝึกฝนจิตจนรู้ชอบ ทรงปฏิบัติจิตจนเห็นแจ้งด้วยตนเอง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชา การแสดงคุณค่าของจิตให้ปรากฎจรณะ เครื่องอาศัยให้วิชชาได้ปรากฎ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงดำเนินไปในทางดี คือ อริยมรรค-ปฏิปทา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงบังคับยานขึ้นจากหล่มได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงนำเวไนยนิกร ออกจากแดนมนุษย์และแดนเทพ
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงปฏิบัติจิตจนรู้แจ้งจิต
ทรงพลังการฝึกปรืออันถูกชอบเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม
พระผู้ทรงธรรมเป็นผู้จำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
(พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)

คำแปล พระพุทธคุณวรรคที่1
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงครอบงำความทุกข์ได้ ทรงไม่มีความลับ ทรงบริสุทธิ์ หมดจดดี
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น
ทรงฝึกฝนจิตจนรู้ชอบ ทรงปฏิบัติจิตจนเห็นแจ้งด้วยตนเอง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชา การแสดงคุณค่าของจิตให้ปรากฎจรณะ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงดำเนินไปในทางดี คือ อริยมรรค-ปฏิปทา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงบังคับยานขึ้นจากหล่มได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงนำเวไนยนิกร ออกจากแดนมนุษย์และแดนเทพ
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงปฏิบัติจิตจนรู้แจ้งจิต
ทรงพลังการฝึกปรืออันถูกชอบเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม

2. อิติปิโสภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะนิธานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
(อะภินิหาระวัคโค ทุติโย)

คำแปลอภินิหารวรรคที่2 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือ พระบารมีเกี่ยวกับอภินิหาร พระบารมีเกี่ยวกับอัชฌาสัยอันโอฬาร
พระบารมีเกี่ยวกับพระปณิธาน พระบารมีเกี่ยวกับพระมหากรุณา พระบารมีเกี่ยวกับพระญาณ
พระบารมีเกี่ยวกับการประกอบความเพียร พระบารมีเกี่ยวกับข้อยุติของข้องใจ พระบารมีเกี่ยวกับจิตใจ
โชติช่วงชัชวาลย์ พระบารมีลงสู่พระครรภ์ พระบารมีดำรงอยู่ในพระครรภ์

3.อิติปิโสภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะรินาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
(คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย)

คำแปล คัพภวุฏฐานวรรคที่3 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีอยู่รอดจากพระครรภ์ พระบารมีปราศจากมลทินในการคลอด พระบารมี
มีพระชาติอันอุดม พระบารมีที่ทรงดำเนินไป พระบารมีทรงพระรูปอันยิ่งใหญ่ พระบารมีทรงมีผิวพรรณงาม
พระบารมีทรงมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่หลวง พระบารมีเจริญวัยขึ้น พระบารมีผันแปร พระบารมีในการคลอดสำเร็จ

4. อิติปิโสภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุฏโฐ)

คำแปล อภิสัมโพธิวรรคที่4 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการตรัสรู้เองยิ่ง พระบารมีในกองศีล พระบารมีในกองสมาธิ
พระบารมีในกองปัญญา พระบารมีในมหาปุริสลักขณะสามสิบสอง

5. อิติปิโสภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
(มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม)

คำแปล มะหาปัญญาวรรคที่5 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในมหาปัญญา พระบารมีในปัญญาอันหนาแน่น พระบารมีในปัญญาอันร่าเริง
พระบารมีในปัญญาอันแล่นเร็ว พระบารมีในปัญญาอันกล้าแข็ง พระบารมีในดวงตาทั้งห้า คือ ตาเนื้อ ทิพพจักษุ
ปัญญาจักษุ ธรรมจักษุ พระบารมีในการทำพุทธอัฏฐารส

6. อิติปิโสภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ขันตี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
(ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ)

คำแปล ปาระมิวรรคที่6 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการให้ปัน พระบารมีในการรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ
พระบารมีในการเว้น ขาดจากความประพฤติแบบประชาชนผู้ครองเรือน พระบารมีกำกับศรัทธาคือปัญญา
พระบารมีในความกล้าผจญทุกสิ่งด้วยความมีสติความพากเพียร พระบารมีในความต้องการเป็นพุทธะด้วยความมีสัจจะ
ความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น พระบารมีในการตั้งจิตไว้ในฐานอันยิ่ง พระบารมีในความเมตตา
พระบารมีในความอดทน พระบารมีในความวางใจตนได้

7. อิติปิโสภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม)

คำแปล ทสบารมีวรรคที่7 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีสิบขั้นต้นบำเพ็ญด้วยวัตถุสิ่งของ
พระบารมีสิบขั้นกลางบำเพ็ญด้วยอวัยวะร่างกาย พระบารมีปรมัตถ์สิบขั้นสูงบำเพ็ญด้วยชีวิต
พระบารมีสามสิบทัศสมบูรณ์ พระบารมีในฌาน และองค์ฌานนั้นๆ พระบารมีทรงญาณอภิญญายิ่ง พระบารมี
มีสติรักษาจิต พระบารมีทรงสมาธิมั่นคง พระบารมีในวิมุตติความหลุดพ้น
พระบารมีที่รู้เห็นความหลุดพ้นของจิต

8. อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิวิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
(วิชชาวัคโค อัฏฐะโม)

คำแปล วิชชาวรรคที่8 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในวิปัสสนา วิชชาในวิชชา3 และจระณะ15 พระบารมีในวิชชามโนมยิทธิ
พระบารมีในอิทธิวิชชา พระบารมีในทิพพโสตวิชชา พระบารมีในปรจิตตวิชชา พระบารมีในปุพพนิวาสานุสสติวิชชา
พระบารมีในทิพพจักขุวิชชา พระบารมีในจรณวิชชา พระบารมีในวิชชาจรณธรรมวิชชา พระบารมีในอนุปุพพวิหารเก้า

9. อิติปิโสภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ปะริญญานะวัคโค นะวะโม)

คำแปล ปริญญาณวรรคที่9 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมในพระบารมี คือ พระบารมีกำหนดรู้ทุกข์ พระบารมีละเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา
พระบารมีทำจิตให้แจ่มแจ้ง คือ นิโรธ พระบารมีอันเป็นมรรคภาวนา
พระบารมีในการกำหนดรู้การละการทำให้แจ้งและการอบรมให้มีให้เป็น พระบารมีในธรรมสัจจะทั้งสี่
พระบารมีในปฏิสัมภิทาญาณ

10. อิติปิโสภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัมมัปปะทานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะพะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
(โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม)

คำแปล โพธิปักขิยะวรรคที่10 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในโพธิปักขิยธรรม พระบารมี มีพระปัญญาในสติปัฏ-ฐาน พระบารมี
มีพระปัญญาในสัมมัปปธาน พระบารมี มีพระปัญญาในอิทธิบาท พระบารมี มีพระปัญญาในอินทรีย์หก พระบารมี
มีพระปัญญาในพละห้า พระบารมี มีพระปัญญาในโพชฌงค์เจ็ด พระบารมี มีพระปัญญาในมรรคแปด
พระบารมีในการทำแจ้งในมหาบุรุษ พระบารมีในอนาวรณวิโมกข์ พระบารมีในวิมุตติอรหัตตผล


11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)

คำแปล ทศพลญาณวรรคที่11 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระทศพลญาณบารมีอันได้แก่ พระบารมีรู้ฐานะและอฐานะ
พระบารมีรู้วิบากโดยฐานะโดยเหตุ พระบารมีรู้ปฏิปทายังสัตว์ไปสู่ภูมิทั้งปวง
รู้โลกมีธาตุอย่างเดียวและมากอย่าง พระบารมีรู้อธิมุตของสัตว์ทั้งหลาย
พระบารมีรู้อินทรีย์ยิ่งและหย่อนของสัตว์ พระบารมีรู้ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วเป็นต้น
แห่งธรรมมีฌานเป็นต้น พระบารมีรู้ระลึกชาติได้ พระบารมีรู้จุติและอุบัติของสัตว์
พระบารมีรู้การกระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้

12 . อิติปิโสภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะกะติสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมักกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
(กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม)

คำแปล กายพลวรรคที่12 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีทรงกำลังช้างทั้งหลายตั้งพันโกฏิพันปโกฏิ
พระบารมีทรงพลังแห่งบุรุษตั้งหมื่นคน พระบารมีหยั่งรู้จักขุห้า คือ ตาเนื้อ ตาทิพย์ ตาญาณ ตาปัญญา
ตาธรรม พระบารมีรู้การทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีในสีลคุณ พระบารมีแห่งคุณค่าและสมาบัติ

13. อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุสาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ถามะพะละวัคโค เตระสะโม)

คำแปล ถามพลวรรคที่13 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่เป็นกำลังเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีกำลังเรี่ยวแรง
พระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีรู้กำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายใน
พระบารมีรู้กำลังภายใน พระบารมีไม่มีเครื่องชั่ง พระบารมีญาณ พระบารมีอุตสาหะ
พระบารมีการแสวงหาทางตรัสรู้

14. อิติปิโสภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
(จะริยาวัคโค จะตุระสะโม)

คำแปล จริยาวรรคที่14 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่ทรงประพฤติ พระบารมีรู้การที่ทรงประพฤติ
พระบารมีที่ทรงประทานให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก(สังคมโลก) พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติแก่ชาวโลก
พระบารมีที่ควรประพฤติแก่ญาติวงศ์ พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่พระญาติพระวงศ์
พระบารมีที่เป็นพุทธ-จริยา พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติโดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า พระบารมีครบทั้งสามอย่าง
พระบารมีครบทั้งบารมีอุปบารมีและปรมัตถบารมี

15. อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อายัตตะเนสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะธาตุสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปะรินามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม)

คำแปล ลักขณวรรคที่15 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีเห็นอนิจจลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
พระบารมีเห็นทุกขลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นอนัตตลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
พระบารมีรู้ลักษณะสามในอายตนะทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะสามในธาตุสิบแปดทั้งหลาย
พระบารมีรู้ลักษณะอันแปรปรวนไป

16. อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(คะตัตถานะวัคโค โสฬะสะโม)

คำแปล คตัฏฐานวรรคที่16 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในสถานที่ไปแล้ว พระบารมีหยั่งรู้สถานที่ไป
พระบารมีอยู่จบพรหมจรรย์ แล้วพระบารมีหยั่งรู้ว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พระบารมีในการตระหนัก
พระบารมีรู้ในการตระหนัก พระบารมีสำรวมระวังอินทรีย์ พระบารมีรู้ในการสำรวมระวังอินทรีย์

17. อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุพรหมวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวัชชิระ ปาระมิสัมปันโน
(ปะเวณีวัคโค สัตตะระสะโม)

คำแปล ปเวณิวรรคที่17 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในพุทธประเวณี พระบารมีรู้ถึงพุทธประเวณี
พระบารมีในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีรู้ในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีการอยู่อย่างประเสริฐ
พระบารมีรู้อย่างไม่มีอะไรกั้นกาง พระบารมีรู้อย่างไม่มีขอบเขต พระบารมีรู้สรรพสิ่งทั้งปวง
พระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัปป์หนึ่งร้อย

พุทธคุณโดยพิศดาร (บทสวดคู่ พระอาการวัตตาสูตร)

อิติปิโส ภะคะวา กัมมัฏฐานัง สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะโลกา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อาโปธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เตโชธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วาโยธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากาสะธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โลกะธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จักกะวาฬะธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา จาตุมหาราชิกา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตาวะติงสา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ยามา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตุสิตา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นิมมานะระตี เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา พรัหมะปะริสัชชา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา มหาพรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะริตตาภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัปปะมาณาภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อาภัสสะรา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะริตตะสุภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัปปะมาณาสุภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุภะกิณหะกา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะสัญญิสัตตา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เวหัปผะลา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะวิหา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะตัปปา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุทัสสา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุทัสสี พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะกะนิฏฐะกา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิญญานัญจายะตะนะ พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ พรัหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญา ยะตะนะ พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา โสตาปัตติมัคโค สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โสตาปัตติผะโล สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคโค สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะกิทาคามิผะโล สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาคามิมัคโค สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาคามิผะโล สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัตตะมัคโค สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัตตะผะโล สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา นิพพานัง ปะระมัง สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นะโมเมสัพพะพุทธานัง สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นะโมโพธิมุตตะนัง สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา ตัณหังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เมธังกะโล นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะระนังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ทีปังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โกญฑัญโญ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา มังคะโล นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุมะโน นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เรวะโต นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โสภิโต นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะโนมะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะทุโม นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นาระโท นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะทุมุตตะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุเมโธ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุชาโต นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปิยะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัตถะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ธัมมะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สิทธัตโถ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ติสโส นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปุสโส นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิปัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สิขี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เวสสะภู นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา กะกุสันโธ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โกนาคะมะโน นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา กัสสะโป นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โคตะโม นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน

พระอาการวัตตาสูตร 5 วรรค

๑.อิติปิโส ภควา ทานปารมี ทานอุปปารมี ทานคตัสสริยะ สัมปันโน
โส ภควา สมติงสปารมีโย ปุโต โส ภควา
น ตัสส ภควโต อรหันตา สัมมาสัมพุทธัสส
อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจรณสัมปันโน สุคโต โลกวิทู
อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธ ภควาติ

อันนี้ชื่อว่า นะวะหะคุณวรรคที่ ๑

๒.อิติปิโส ภควา อุเปกขาปรมัตถปารมีโย
โส ภควา อุเปกขาปรมัตถปารมีโย
โส เทโส อนันตาทิคุโณ โส ภควา
อิติปิโส ปมาทัสส พลาพโล ปัญญาปัญญัง
โส ภควา พลังพลา
ปัญญังปัญญา ภาวนา เตชัง เตชา ทุปัญญัง ปัญญา สีลัญจ คุณะคุณัง จ โหตุ ปัจจโย
โส ภควา สัมปัณโน อิติปิโส อุตตมัง อุตตมา มหาทสพลังพลา
ปัญญัง ปัญญา เตชังเตชา ปุญญัง ปุญญา สีลัญจ คุณะคุณัง จโหตุ ปัจจโย
โส ภควา สัมปันโน โส ภควา อิติปิ สุขุมัง สุขุมา มหาทสพลังพลา
ปัญญังปัญญา เตชังเตชา ปุญญัง ปุญญา สีลัญจ คุณะคุณัง จโหตุ ปัจจโย สัมปันโน
โส ภควา อิติปิ สุขุมัง สุขุมา มหาทสพลังพลา
ปัญญังปัญญา สีลัญจ คุณะคุณัง จโหตุ ปัจจโย สัมปันโน
โส ภควา อิติปิ พุทธัสสะ สัมพุทโธ มหาทสพลังพลา
มุนีมุนา มหาคุณังคุณา ราชังปัญญาสีลัญจ คุณังวทัมมัง อภินิทารสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อัตถชยสัมปันโน อิติปิโส ภควา ปณิธานะสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ยนสัมปันโน อิติปิโส ภควา โยคะสัมปันโน อิติปิโส ภควา ปัพพะโยคะสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ยุตตะสัมปันโน ยุตติสัมปันโน อิติปิโส ภควา โชติสัมปันโน
อิติปิโส ภควา โอคัณฑะสัมปันโน อิติปิโส ภควา กัมพินิสัมปันโน อิติปิโส ภควาติฯ

อันนี้ชื่อว่า ภังคนิวันตา วรรคที่ ๒

๓.อิติปิโส ภควา อะหะรังสัมปันโน อิติปิโส ภควา คัพภวุตถานัง สัมปันโน
อิติปิโส ภควา กัมพิชาติ สัมปันโน อิติปิโส ภควา สัมปุกุสลสัมปันโน
อิติปิโสภควา อรหสัมปันโน อิติปิโส ภควา ตะสัมปันโน อิติปิโส ภควา ปริวาระสัมปันโน
อิติปิโส ภควา นิอิมสมปุปัพพชายสัมปันโน อิติปิโส ภควา อภิสัมโพธิสัมปันโน อิปิโส ภควา ฯ

อันนี้ชื่อว่า ปริสัตตวันวรรคที่ ๓

๔.อิติปิโส ภควา สัมมาทิสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ปัญญาสโน
อิติปิโส ภควา วิมุติสัมปันโน
อิติปิโส ภควา วิมุติยาสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อภิคุณสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สังขารักขันโธ อนิจจังลักขณสัมปันโน
อิติปิโส ภควา รูปักขันธา อนัตตา ลักขณปารมี สัมปันโน
อิติปิโส ภควา เวทนาขันธา อนัตตาลักขณปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สังขารักขันธา อนัตตาลักขณปารมี สัมปันโน อิติปิโส ภควา ฯ

อันนี้ชื่อว่าปารสีตวรรคที่ ๔

๕.อิติปิโส ภควา ทาน ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อภิญญา ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สติยาระ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สมิทาน ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัมพิทา ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัมปมาญาณ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา วิมุตติ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ทวัตติงสมหาปุริสลักขณสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อสีติพลปัญญา ลักขณสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ทาน ปารมี
อิติปิโส ภควา ทาน อุปปารมี
อิติปิโส ภควา ทานปรมัตถ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัจจ ปารมี
อิติปิโส ภควา สัจจ อุปปารมี
อิติปิโส ภควา สัจจปรมัตถ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา เมตตา ปารมี
อิติปิโส ภควา เมตตา อุปปารมี
อิติปิโส ภควา เมตตา ปรมัตถปารมี สัมปันโน
อิติปิโส ภควา อุเปกขา ปารมี
อิติปิโส ภควา อุเปกขา อุปปารมี
อิติปิโส ภควา อุเปกขา ปรมัตถ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัมมุติ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา นิรุตติ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัมพิทาญาณ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อิติปฏิพิทาญาณ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ปัตตติสวารโพธิปักขยา ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา โสตถาน ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อันย ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อปรยตน ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัพพัญญาณ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ น อุตัง สหเทสิถิตังฯ

อันนี้ชื่อว่า ปารมีทัตตวรรค ที่ ๕

อานิสงส์พระอาการวัตตาสูตร

เอวัเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะ คะเห วิหาระติ คิชฌะกูเฎ ปัพพะเต
อะถะโข อายัสมา สาริปุตโต เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ
อุปะสังกะมิตตะวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง นิสิทิ

ณ บัดนี้ จะแสดงความตามสมควรแก่เวยยากรณบาลี ที่มีมาในอาการวัตตาสูตร
โดยสรุปยุติในเรื่องความว่า ณ สมัยครั้งหนึ่ง องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค
เสด็จประทับระงับพระอิริยาบถ ณ คิชฌกูฎบรรพตคีรีวัน
ใกล้กันกับมหานครราชคฤห์ธานี เป็นที่อาศัยโคจรบิณฑบาตพุทธาจิณวัตร

อะถะโข อายัสมา สาริปุตโต ครั้งนั้น พระสาริบุตรพุทธสาวกผู้มีอายุจึง
เข้าไปสู่ที่เฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทโดยอาการที่เคารพเป็นอันดีแล้ว
ก็นั่งอยู่ที่ควรส่วนสุดข้างหนึ่ง อันปราศจากนิสัชชะโทษ 6 ประการ

เอกะมันตัง นิสีทิ นิสัชชะ โข อายัสสะมะโต สาริปุตตัสส
เมื่อพระสาริบุตรผู้มีอายุ นั่งอยู่ที่อันสมควรแล้ว จึงแลดูซึ่งสหธรรมิกสัตว์เกิดความปริวิตกในใจ
คิดถึงการต่อไปในส่วนอนาคตภายหน้า

อิเม โข สัตตา ฉินนะมูละ อตีตะสิกขา อันว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้
ที่หนาไปด้วยกิเลศาสะวะและอวิชชาสวะ ยังไม่ล่วงซึ่งโอฆะทั้ง 4 คือ
กามโอฆะ ทิฎฐิโอฆะ อะวิชชาโอฆะ อันเป็นโอฆะแอ่งแก่งสันดาน
มีสันดานอันรกชัฏด้วยอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ก็กระทำซึ่งการอันเป็นอกุศล
เป็นอาจินตนกรรม ก็ชื่อว่ามีกุศลมูลขาดเสียแล้ว มีสิกขาอันละเสียแล้ว

จะตูสุ อะปาเยสุ วิปัจจันติ ก็เที่ยงที่ว่า จะไปไหม้อยู่ในอบายทั้ง 4
เป็นที่ปราศจากความสุข คือ นรกแลเปตวิสัย อสุรกายกำเนิด ดิรัจฉานกำเนิด
ก็เมื่อสัตว์ทั้งหลายหนาไปด้วยอกุศล จะยังตนให้ตกไหม้อยู่ในอบายนี้

พุทธะกะระธัมเมหิ ตัพพัง ธรรมเครื่องกระทำซึ่งความเป็นพระพุทธเจ้า
คือ บารมี 30 ทัศ จะพึงมีสามารถเพื่อจะห้ามกันเสียได้ ซึ่งจตุราบายทุกข์ทั้งหลายนั้น
จะพึงมีอยู่เพราะด้วยว่าบารมีธรรม ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีอยู่เป็นอันมาก
จะมีอยู่แต่เท่านี้หามิได้ ธรรมทั้งหลายใดเป็นไป เพื่อจะให้สำเร็จพระโพธิญาณ
อันสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแสดงไว้ในพระสูตร และพระวินัย และพระปรมัตถ์
อันเป็นธรรมคัมภีร์รภาพละเอียดนัก เป็นองค์ธรรมอันพระพุทธเจ้าทั้งเสพย์แล้ว
โดยยิ่งล้านนิยยานิกธรรมจะนำสัตว์ให้พ้นจากวัฏฏสงสารทุกข์ได้ดังนี้
พระธรรมเสนาบดี พระสาริบุตรพุทธสาวก มีความปริวติกในจิตด้วยความกรุณา
ประชุมเกิดมา ณ ภายหลัง จักให้ปฏิบัติในธรรมนั้น ๆ ให้เป็นที่ป้องกันรักษาตน
ให้พ้นจาก ทุกข์ภัย ในอบายอย่างนี้ จึงยกกรประพุ่มหัตถ์อัญชีกรประณมแทบบงกชบาท
สมเด็จพระบรมโลกนารถเจ้า แล้วกราบทูลพระกรุณาว่า

เยเกจิ ทุปัญญา ปุคคะลา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ที่เป็นผู้มีปัญญายังหนาอยู่ด้วยโมหะ

อวิชชาพุทธะกะระกะธัมเม อะชานิตะวา หารู้จักพุทธกรกธรรม คือ
บารมีแห่งพระพุทธเจ้านั้นไม่ เพราะความที่แห่งตนเป็นคนอันธพาล
จะพึงกระทำซึ่งกรรมอันเป็นบาปทั้งปวง นับได้พันแห่งโกฏิเป็นอันมาก
บางจำพวกก็พึงกระทำซึ่งมนุษย์ฆาฏรรม คือ ฆ่ามนุษย์เสียเป็นต้น
ฆ่าซึ่งกษัตริย์ชิงเอาราชสมบัติ และฆ่าซึ่งมหาอำมาตย์
แลปุโรหิตาจารย์ ฆ่าซึ่งชนเป็นอันเป็นพาล และบัณฑิตย์ ฆ่าบรรพชิต
คือ สมณะ อันเป็นมหาวัชชกรรม ครุกรรม

โกจิโคณังวา มหิงสานังวา บางจำพวกฆ่าซึ่งโคและกระบือ
ฆ่าสัตว์เดียรฉานมีฆ่าซึ่งแพะ แกะ ฆ่าซึ่งคชสารอัสดรกุญชรชาติด้วยสามารถ
ความประสงค์ซึ่งมังสะและงาอังคาพยพน้อยใหญ่ หรือกระทำซึ่งปาณาติบาตดังกล่าวมาฉะนี้
ด้วยสามารถโทสะความโกรธ และโมหะความหลวง ชนผู้เป็นคฤหัสถ์
บางจำพวกผู้เป็นพาล จงใจจะพึงกระครุกรรมอันสาหัส คือ อนันตริยกรรมทั้ง 5 เป็นต้น
ว่าฆ่าซึ่งบิดาและมารดา

สาสะนะโต ปาราชิกัง อาปัชเชยยะ ก็จะพึงถึงซึ่งความที่แห่งตนเป็นผู้พ่ายแพ้จากศาสนา
แท้จริงคฤหัสถ์ผู้กระทำครุกรรมฆ่าบิดามารดาดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าปาราชิก
ฝ่ายฆราวาส เบื้องว่า บรรพชิตทั้งหลาย ผู้ดำรงซึ่งสิกขาบทสังวรวินัย
ไม่ตั้งอยู่ในอธิสิกขาล่วงพุทธอาญา อันเป็นอาณาติกมโทษ ต้องครุกาบัติแล ลหุกาบัติ โดยลำดับมา

ฉินนะมูลาจนถึงซึ่งปาราชิกาบัติ เป็นผู้ขาดจากมูลในพระพุทธวจนะ
อันเป็นวัตรในปิฏกทั้ง 3 คือ พระวินัยปิฏก พระสูตรปิฏก พระปรมัตปิฏก อันเป็นสาสโนวาท

เต ปาปะกัมมัง กัตตะวา ชนที่ได้สมมุตว่าเป็นบรรชิตทั้งหลายนั้น
จะพึงกระทำกรรมเป็นบาปก็เป็นเหตุ จะยังตนให้ถึงซึ่ง

นิระยะกะทุกข์ กายัสสะ เภทา เบื้องหน้าแต่จุติจิต เพราะแตกจากชิวิตินทรีย์แล้ว
จะพึงไปบังเกิดในอเวจีนิรยาบาย

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมอันใดอันหนึ่งเล่า จะเป็นธรรมอันลึกสุขุม
ที่สามารถอาจเพื่อจะห้ามเสียได้ซึ่งสัตว์ทั้งหลายนั้น อันจะตกไปในนรกใหญ่ คือ อเวจี
นั้นจะมีอยู่บ้างหรือพระพุทธเจ้าข้า เมื่อกราบทูลดังนี้แล้ว พระผู้เป็นเจ้าธรรมเสนาบดี
จึงกล่าวซึ่งคาถาทั้งหลายตามบรรยายพระพุทธภาษิต ซึ่งได้แสดงถึงทุกข์
อันเป็นผลวิบากแห่งครุกาบัติและลหุกาบัติ ยกปาราชิกสิกขา
จัดเป็นมูลเฉทขึ้นแสดงเบื้องต้น โดยกระแสอนุสนธิ์ว่า

ทะสะวัสสะสะหัสสานิ ติงสะสะหัสสะโกฏิโย ปาริชิกัง สะมาปันโน
บรรพชิตผู้ล่วงเสียซึ่งสิกขา ถึงพร้อมแล้วซึ่งปาราชิกเป็นผู้มีมูลขาด
จากพระศาสนานิยามคติที่ให้ไปอุบัติในภพเบื้องหน้า คือ จะไปบังเกิดในนรกใหญ่
คือ อเวจีไหม้อยู่ในไฟไม่รู้ดับ กำหนดนับได้ถึง 3000 โกฏิ กับหมื่นปีเป็นที่สุด
อาการวัตตาสูตรนี้ มีเนื้อความอันพิสดาร ถ้าแม้นจะพรรณาไปก็จะเป็นการอันเนิ่นช้า
จำจะได้ชักมาซึ่งส่วนแห่งอานิสงค์ที่บุคคลได้สักการบูชาแลนับถือ
และได้บ่นท่องสาธยายจำทรงไว้ได้ดังนี้เป็นต้น ก็จะพึงมีอานิสงค์อันใหญ่ยิ่ง

ในลำดับนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแสดงซึ่งอาการวัตตาสูตร
กำหนดด้วย 17 วรรค มีอรหาทิคุณวรรณ เป็นต้น
จนถึงปเวณียวรรคเป็นคำรบ 17 ด้วยประการดังนี้ แล้วพระองค์ทรงบรรยาย
ซึ่งอานิสังสคุณานุภาพแพ่ง อาการวัตตาสูตรแก่พระสารีบุตรต่อไปว่า

ยัญจะสาริปุตตะ รัตติง ดูกรสาริบุตรก็ราชราตรีอันใดพระตถาคตได้ตรัสรู้
ซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นวิมุตติเสวตฉัตร ณ ควงไม้อสัตตพฤกษ์โพธิมณฑล
ก็ในราตรีนั้นแลพระตถาคตก็ระลึกซึ่งอาการวัตตาสูตรนี้อันมีคุณานุภาพ

เพื่อเป็นที่รักษาต่อต้านซึ่งภัยอันตรายแลเป็นที่เร้นซ่อน เป็นคติที่จะไปในเบื้องหน้าแห่งสัตว์โลก
กับทั้งเทวโลกแลมารโลก พรหมโลกแลหมู่สัตว์ เป็นไปกับด้วยสมณะแลพราหมณ์
แลสมมุติเทวดาและมนุษย์ และสามารถเพื่อจะห้ามเสียซึ่งบาปธรรมทั้งปวง
เพราะพระตถาคตมาระลึกตามอยู่ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันเป็นมรรคาแห่งสัตว์ทั้งหลาย
ให้ถึงซึ่งอันสิ้นไปแห่งทุกข์และภัยทั้งปวงในสงสารอย่างนี้ กำหนดเพียงไรแต่นิพานธาตุ
ซึ่งอนุปาทิเสสะ มีกัมมัชชรูแลวิปากขันธ์ อันกรรมกิเลสเข้าถือเอา เหลืออยู่ไม่สิ้นเชื้อสิ้นเชิง

เอตถันตะเร ในระหว่างแห่งการนั้น การยกรรมแห่งพระตถาคตพุทธเจ้าทั้งปวง

ญาณะปุพพังคะมัง มีญาณเครื่องรู้เป็นประธานถึงก่อน คือว่าเป็นไปกับด้วยญาณอันปราศจากโทษ
คือ โมหะ ถึงแม้วจีกรรมและมโนกรรม แห่งพระตถาคตพุทธเจ้าก็เป็นไปแล้วด้วยพระญาณเหมือนอย่างนั้น

อะตีตัง สะระ อัปปะฏิหะกัง และกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมแห่งพระตถาคตพุทธเจ้า
ที่เป็นส่วนอดีตกาลล่วงแล้วแลเป็นส่วนปัจจุบัน และอนาคตกาลภายหน้าอันยังไม่มาถึง
ก็เป็นญาณทัสสะเครื่องที่เห็นด้วยญาณ

อัปปะฏิหะกัง อันโทษทั้งหลายเป็นต้นว่า อภิชฌาไม่กำจัดได้ไม่ใคร่ละแล้ว
เป็นกรรมผ่องแผ้วในไตรทวารด้วยประการฉะนี้

เยเกจิ สาริปุตตะ ดูกรสาริบุตร ครั้นเมื่อ อาการวัตตาสูตรนี้ ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ได้กล่าวอยู่เป็นอัตราวัตตาสูตรนี้ ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้กล่าวอยู่เป็นอัตราแล้ว
บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องที่จะหยั่งลงไปในสันดาน แม้ถึงผู้นั้นกล่าวอยู่สักครั้งหนึ่งก็ดี
จะคุ้มครองรักษาผู้นั้น จัตตาโร มาเส สิ้นกาลประมาณได้ 4 เดือนเป็นกำหนด
เป็นที่คุ้มครองป้องกันภัยอันตรายทั้งปวง ยกไว้แต่ภัยอันตรายที่บังเกิดแล้ว
แลตามผลวิบากแห่งอกุศลกรรมเท่านั้น อนึ่ง บุคคลผู้ใดอุตส่าห์ตั้งจิตไม่คิดท้อถอย
ได้สดับฟังซึ่งอาการวัตตาสูตรนี้ก็ดี หรือได้เล่าเรียนแลได้บอกกล่าวก็ดี หรือได้เขียนเอง
แลให้ผู้อื่นเขียนก็ดี หรือได้จำทรงไว้ได้ก็ดี หรือได้กระทำสักการบูชานับถือก็ดี
หรือได้ระลึกเนือง ๆ โดยเคารพพร้อมด้วยไตรประนาณามก็ดี
จะปรารถนาสิ่งใด ๆ ก็จะสำเร็จแก่บุคคลผู้นั้น ตามประสงค์พร้อมทุกสิ่ง

ตัง ตัสสะมา ทีปังกะโรหิ เพราะเหตุดังนั้นท่านผู้มีปรีชา ประกอบด้วยศรัทธา
แลความเลื่อมใสจงกระทำซึ่งอาการวัตตาสูตร อันจะเป็นทีผ่อนพักพิงอาศัยในวัฏกันดาร
ประหนึ่งว่าเกาะแลฝั่งได้เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่ ฉะนั้น

อัฏฐะวีสะติยา จะ อะวิชชะหิตัง ก็อาการวัตตาสูตรนี้ อันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย 28 พระองค์
ที่ล่วงไปแล้วก็ดี อันพระตถาคนเจ้าบัดนี้ก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักองค์เดียว
ได้ทรงตามกันมาทุกพระองค์

อะนันตะรัง พระสูตรนี้มีคุณานุภาพยิ่ง ไม่มีสูตรอื่นจะยิ่งกว่าหามิได้

ยะถาสะติ ยะถาพะลัง สิกขาตัพพัง เพราะฉะนั้นท่านผู้สัตบุรุษพุทธศาสนิกชน
พึงศึกษาเป็นทางเล่าเรียน เขียนไว้โดยควรแก่กำไรอย่างไร อย่าให้เสียคราวเสียสมัยที่ได้ประสพ

สิกขิงตุง อะสักโกนโต ก็เมื่อไม่อาจจะศึกษาได้ด้วยความที่ตนเป็นคนมันทปัญญา
ก็พึงจารจารึกลงไว้ในสมุดแลใบลาน ไว้ให้เป็นที่ดูที่นมัสการบูชาโดยเคารพ

กาตุง อะสะโกนเตนะ ก็เมื่อไม่อาจเพื่อจะกระทำได้ดังกล่าวแล้วนี้
ก็ให้พึงตั้งใจฟังโดยเคารพดำรงสติให้ระลึกตามทุกบททุกบาท
อย่าให้เป็นสติวิปลาสปราศจากสติ เป็นแต่สักว่านั่งฟังอยู่อย่างนั้น

สะวะนิตุง อะสะโกนเตนะ ก็เมื่อไม่อาจเพื่อจะฟังดังกล่าวมานี้
พึงไปสู่สถานที่อยู่แห่งบุคคลได้เล่าบ่นสาธยาย

สุนิตุง อะสะโกนเตนะ




(แล้วจะมาพิพม์ต่อค่ะ) สุชาดา 0818386955



ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎบรรพตคีรี ใกล้ราชธานีราชคฤห์มหานคร ในสมัยครั้งนั้นพระสารีบุตรพุทธสาวก เข้าไปสู่ที่เฝ้าถวายอภิวาทโดยเคารพแล้วนั่งในที่ควรส่วนข้างหนึ่งเล็กแลดูสหธัมมิกสัตว์ทั้งหลาย ก็เกิดปริวิตกในใจคิดถึงกาลต่อไปภายหน้าว่า

พระสารีบุตรได้ปริวิตกในจิตว่าจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ไม่รู้จักบารมีแห่งพระพุทธเจ้าได้อย่างไร
จึงได้กราบทูลถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มีธรรมอันใดเล่า ที่จะลึกสุขุม
จะห้ามเสียซึ่งหมู่อันธพาลพังกระทำบาปกรรม ทั้งปวงไม่ให้ตกไปในนรกอเวจี
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี้
ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งนักหนา แม้จะปรารถนาพระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ
พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ นิพพานสมบัติ
ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้เป็นพระพุทธเจ้าปัญญามาก
เพราะเจริญพระพุทธมนต์บทนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้เจริญได้ทุกวันจะเห็นผลความสุขขึ้นเอง
ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่าผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ ครั้งหนึ่ง จะคุ้มครองภัยอันตราย 30
ประการได้ 4 เดือน ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดาน
เว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใดอุตสาหะ ตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียนได้ สวดมนต์ก็ดี
บอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการะบูชาเคารพนับถือ พร้อมทั้งไตรทวารก็ดี
ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใสจะกระทำซึ่งอาการวัตตาสูตร
อันจะเป็นที่พักผ่อน พึ่งพาอาศัยในวัฏฏสงสาร
ดุจเกาะและฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่
ฉะนั้น อาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี
พระตถาคตพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว
ได้ทรงพระเจริญตามพระสูตรนี้มาทุกๆ พระองค์
จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่นไม่มีธรรมอื่นจะเปรียบให้เท่าถึงเป็นธรรมอันระงับไปโดยแท้ในอนาคตกาล
ถ้าบุคคลใดทำปาณาติบาต คือ ปลงชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไปเป็นวัชร กรรมที่ชักนำให้ปฏิสนธิในนรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม
คือ สัญชีพนรก อุสุทนรก สังฆาตนรก โรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก อเวจีนรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน กำเนิดไซร้
ถ้าได้ท่องบ่นทรงจำจนคล่องปากก็จะปิดบังห้ามกันไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน 90 แสนกัลป์
ผู้นั้นระลึกตามเนืองๆ ก็จะสำเร็จไตรวิชชาและอภิญญา 6 ประการ ยังทิพจักษุญาณให้บริสุทธิ์
ดุจองค์มเหสักข์เทวราชมีการรีบร้อนออกจากบ้านไป จะไม่อดอาหารในระหว่างทางที่ผ่านไป
จะเป็นที่พึ่งอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอาหาร ภัยอันตราย ศัตรู หมู่ปัจจามิตร
ไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ นี้เป็น
ทิฏฐธรรมเวทนียานิสงส์ปัจจุบันทันตาในสัมปรายิกานิสงส์ ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้น
แสดงว่าผู้ใดได้พระสูตรนี้เมื่อสืบขันธประวัติในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ
หิรัณยรัตนมณีเหลือล้นขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือนและที่คลังเป็นต้น ประกอบด้วยเครื่องอลังการภูษิตพรรณต่างๆ
จะมีกำลังมากแรงขยันต่อยุทธนาข้าศึกศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อ
ทั้งจะมีฉวีวรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติ
มีจักษุประสาทรุ่งเรืองงามไม่วิปริตแลเห็นทั่วทิศที่สรรพรูปทั้งปวงและจะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นพิภพดาวดึงส
์อยู่ 36 กัลป์ โดยประมาณและจะได้เป็นบรมจักรพรรดิราชผู้เป็นอิสระในทวีปใหญ่ 4 มีทวีปน้อย 2000
เป็นบริวารนานถึง 26 กัลป์ จะถึงพร้อมด้วยปราสาทอันแล้วไปด้วยทอง ควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ
เป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งจักรพรรดิราช จะตั้งอยู่ในสุขสมบัติโดยกำหนดกาลนาน
ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารอานิสงส์คงอภิบาลตามประคองไปให้มีปัญญาฉลาดเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ
้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาณอวสานที่สุดชาติก็จะได้บรรลุพระนิพพาน
อนึ่งถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานก็จะไม่ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน
กำเนิดและมหานรกใหญ่ทั้ง 8 ขุมช้านานถึง 90 แสนกัลป์ และจะไม่ได้ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ
จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นอุตโตพยัญชนก อันมีเพศเป็น 2 ฝ่าย
จะไม่ไปเกิดเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกระเทยที่เป็นอภัพบุคคล บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใดๆ
ก็จะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ จะมีรูปทรงสัณฐานงามดีดุจทองธรรมชาติ
เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชนผู้ได้ทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยจึงจะตาย
จะเป็นคนมีศีลศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย จะเป็นคนไม่มีโรค-พยาธิเบียดเบียน
สรรพอันตรายความจัญไรภัยพิบัติ สรรพอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกายก็จะสงบระงับดับคลายลงด้วยคุณานิสงส์
ผลที่ได้สวดมนต์ ได้สดับฟังพระสูตรนี้ด้วยประสาทจิตผ่องใส
เวลามรณสมัยใกล้จะตายไม่หลงสติจะดำรงสติไว้ในทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์
นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบซึ่งพระสูตรเจือปนด้วยพระวินัยพระปรมัตถ์มีนามบัญญัติชื่อว่า อาการวัตตาสูตร
มีข้อความดังได้แสดงมาด้วยประการฉะนี้

ขออนุญาตคัดลอกบทความ ขออนุโมทนาบุญ ด้วย
และข้าพเจ้าก็ขออนุญาตเผยแพร่ และขอให้ได้บุญกุศลร่วมกัน
สุช่าดา ศรีตุลาการ (สาทรกิจ) โทร 0818386955
rightsuccess@hotmail.com
SSS

(พระคาถาสุนทรีวาณี) (หัวใจพระอาการวัตตาสูตร)
มุนินทะ วะทะนัมพุชะคัพภะ สัมภะวะสุนทะรี ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง

พระสุนทรีวาณี:อีกภาคหนึ่งของทางฮินดูก็คือพระแม่สุรัสวดี เทพแห่งปัญญา การเจรจาค้าขาย

พระสุนทรีวาณี:มีความหมายว่าอย่างไรและมีความสำคัญในทางธรรมะแห่งพระพุทธศาสนาอย่างไร?
มุนินฺท วทนมฺพุช คพฺภสมฺภว สุนฺทรี ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ

คาถาพระสุนทรีวาณี
ตั้ง นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรีปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนังฯ
(ท่อง สาม ห้า หรือ เจ็ด จบพร้อมคำแปล)

ทำการค้าขาย โชคลาภ ให้ภาวนาเพิ่มว่า...
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
โส มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา
สา มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา

คำแปล:นางฟ้า คือพระไตรปิฎกอันเกิดจากดอกอุบล คือพระโอษฐ์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้พึ่งพำนักของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงยังใจของข้าพเจ้าให้เอิบอิ่มปรีดาปราโมทย์ รู้แจ่มแจ้งแทงตลอดจำได้ ปฏิบัติตามได้ ในพระไตรปิฏกทั้งโลกียะและโลกุตตระนั้นเทอญ

ประวัติ พระสุนทรีวาณี
เป็นพระปางพิเศษ เป็นรูปเทพธิดาทรงอาภรณ์อันงดงามวิจิตร หัตถ์ขวาแสดงอาการกวัก คือ การเรียกเข้ามาหา หัตถ์ซ้ายหงายอยู่บนพระเพลา

(หน้าตัก) มีดวงแก้ววิเชียร (เพชร) อยู่ในหัตถ์

พระสุนทรีวาณี เป็นพระซึ่งเกิดจากการนิมิต แห่งพระคาถาสุนทรีวาณี ซึ่งเป็นคาถาที่ปรากฎ ในคัมภีร์สัททาวิเสส มี ๓๒ คำ

พระคาถานี้เป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดเมื่อเรียนพระไตรปิฎก เรียนพระธรรม เรียนวิชา ภาวนาแล้ว ดับอวิชชา บังเกิดปัญญางาม ปัญญากลายเป็นสัญญา คือ ความทรงจำอันเลิศล้ำ โบราณาจารย์ได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้ท่องทุกครั้ง ที่เรียนพระไตรปิฎกตลอดมา

สืบได้ความว่า ผู้ที่ท่องคาถานี้เฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ ดำรงสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช ๓ พระองค์ เป็นพระสมเด็จ พระราชาคณะ เป็นพระคณาจารย์ผู้มากด้วยเมตตา

พระคาถาวาณีมีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น พระคาถาอาราธนาธรรม, พระคาถาเรียกธรรม, พระคาถาบารมี 10 ทัศน์, พระคาถาหัวใจอาการวัตตาสูตร, หรือ คาถาหัวใจอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นคาถาประจำพระองค์ ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร สุก ไก่ เถื่อน ที่ทรงสอนให้พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้ภาวนาก่อนที่จะนั่งเข้าที่ภาวนา หรือก่อนเรียนพระปริยัติทุกคราวไป เพื่อกันบาปธรรม หรือมารเข้ามาในใจ...

ภาพถ่ายที่วัดสุทัศน์ สมเด็จพระวันรัตแดง วัดสุทัศน์เทพวราราม กล่าวว่า พระอาจารย์ของท่าน ทั้งทางคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ สอนให้บริกรรมพระคาถา วาณี ก่อนจะเริ่มเรียนเรียนพระปริยัติธรรม และเข้าที่ภาวนาทุกคราวไป ท่านยังกล่าวอีกว่าท่านพระมหาเถระผู้ใหญ่ทั้งหลายแต่กาลก่อน ล้วนนับถือพระคาถานี้อยู่ทั่วกัน จนกระทั้งอาราธนาธรรมก็ใช้คาถานี้

ที่มาและความสำคัญของพระคาถานี้มีกล่าวไว้ใน อาการวัตตาสูตร ว่า พุทธกรธัมเมหิตัพพัง ความว่า ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นพระพุทธเจ้าคือบารมี 10 ทัศ จะพึงมีอยู่ด้วย เพราะว่าบารมีธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอยู่เป็นอันมาก ธรรมทั้งหลายใดเป็นไปเพื่อจะให้สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสกับพระสารีบุตรว่า ยัญ จ สารีปุตต รัตติง ดูกรสารีบุตร ในราตรีอันใด ตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวิมุติเศวตฉัตร ณ ควงไม้ อัสสัตถโพธิพฤกษ์ ก็ราตรีนั้นพระตถาคตเจ้านั้นจะระลึกถึง อาการวัตตาสูตร นี้ (พระคาถาวาณี ย่อมาจากอาการวัตตาสูตร) เป็นไปเพื่อต่อต้านรักษาภัยอันตรายและห้ามบาปธรรมทั้งปวง เพราะตถาคตมาตามระลึกอยู่ ซึ้งธรรมทั้งหลายอันเป็นมรรคาแห่งสัตว์ทั้งหลาย ให้ถึงความสิ้นไปแห่กิเลส ในกาลนั้นตถาคตเจ้าทั้งมวลมีญาณเครื่องรู้เป็นประธานก่อน เรียกว่า พุทธประเวณีญาณ แปลว่าญาณกำหนดรู้ธรรมเนียมแบบแผนขอ พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เคยปฏิบัติมา อันอาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย 28 พระองค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี และ ตถาคตเจ้าในบัดนี้ก็ดีมิได้ระวางสักพระองค์เดียวทำตามกันมาทุกพระองค์

สมเด็จพระวันรัตน์(แดง สีลวัฑฒโน)-ผู้อธิบายพุทธมนต์ด้วยศิลปะ ภาพพระบฎ -สุนทรีวาณี

ผลงานพิเศษชิ้นหนึ่งของพระวันรัตน์(แดง สีลวัฒโน) พระเถระที่พระปิยมหาราชทรงเคารพรูปหนึ่ง เชี่ยวชาญในพระปริยัติธรรมและพระไตรปิฎก ได้รจนาหนังสืออธิบายพระธรรมวินัยไว้หลายเรื่อง เพื่อเป็นคู่มือในการศึกษาของภิกษุ สามเณร คือภาพพระบฎ ที่มีชื่อว่า สุนทรีวาณี เป็นภาพแสดงความหมายในทางธรรม อธิบายพุทธมนต์ด้วยศิลปะ ท่านได้คิดแบบให้ช่างวาดขึ้น โดยถอดความหมายจากภาษาบาลีบทหนึ่งข้างต้น ท่านชอบใจเนื้อความในคาถานี้มาก จึงได้คิดถอดความหมายให้เขียนป็นภาพพระบฎไว้สักการะบูชา คือ

เขียนเป็นภาพนางมีเต้าถัน แต่ทรงเครื่องอย่างบุรุษ หมายความว่า เป็นรูปนางฟ้า หมายถึง พระไตรปิฎก บนฝ่ามือซ้ายมีเพชรวางอยู่ หมายความว่า พระนิพพาน เลิศกว่าธรรมทั้งปวง มือขวายกขึ้น หมายถึงพระธรรมคุณ คือ เอหิปัสสโก(เรียกให้มาดู) ดอกบัวที่รองรับรูปนางฟ้านั้น เปรียบด้วยพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า มีรูปมนุษย์ นั่งบนดอกบัวซ้ายขวา หมายถึงคู่พระอัครสาวก รูปนาค หมายถึง พระอรหันตขีณาสพ รูปเทพยดา พรหม และสัตว์ต่างๆ หมายถึง เหล่าสัตว์ในกามภพ-รูปภพ-และอรูปภพ สระน้ำ หมายถึง สังสารสาคร

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทอดพระเนตรเห็นภาพพระบฎดังกล่าวนี้ ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก ถึงทรงพระราชดำริจะให้จารึกลงในแผ่นศิลา ประดิษฐานไว้ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร อันเป็นวัดที่ทรงสถาปนาขึ้น....

ภาพพระบฎจะได้นำลงเผยแพร่ พร้อมร้อยกรองบทกลอนถวายหลวงปู่ด้วย เพื่อให้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบในจินตนาการของท่านในเชิงศิลป์ต่อไป

***ภาพพระบฎ-สุนทรีวาณี***
โอ้"สุนทราวาณี"โสภีเพริศ สุดประเสริฐงามแท้มาแต่ไหน?
เป็น"นางฟ้า"โฉมงามมีความนัย "ทรงเครื่องใหญ่อย่างบุรุษ"-องค์พุทธา
"ประทับนั่งบนดอกบัวบาน"ทั่วฐาน เด่นตระหง่านทรงประกาศพระศาสนา
คือ"พระไตรปิฎก"ที่ยกมา พรรณนา"พระธรรม"นำชีวี.....
"พระวินัย-พระสูตร-พระอภิธรรม" ทรงค่าล้ำแก่มนุษย์วิสุทธิ์ศรี
"พระหัตถ์ซ้าย""เพชร"วางอยู่ดูให้ดี ค่าควรมี"พระนิพพาน"สถานเดียว!!!
สุดประเสริฐเลิศล้ำธรรมทั้งปวง เพราะสิ้นห่วงทุกอย่างแท้ไม่แลเหลียว
"พระหัตถ์ขวายกขึ้น"มาเมตตาเทียว เชิญทีเดียว"เรียกหาให้มาดู!!!"
"พระธรรมคุณ"บุญของโลกดับโศกเศร้า ที่แผดเผาผู้คนวิมลหรูเป็น
"เอหิปัสสโก"โชว์ชวนดู เพื่อเรียนรู้"สู่นิพพาน"สราญรมย์
"ดอกบัวบานฐานานางฟ้า"นั้น เป็นสำคัญคือ"พระโอษฐ์"ประโยชน์สม
"แห่งองค์พระพุทธา"งามน่าชม ทรงอบรมสั่งสอนสุนทรธรรม....
"มนุษย์นั่งบนดอกบัวอยู่ซ้ายขวา" คือ"อัคราสาวก"ยกคมขำ
"ซุ้มนาคคือพระอรหันต์"ผู้มั่นธรรม เป็นผู้นำ"ขีณาสพ"นบพระคุณ
"เหล่าเทพ-พรหม-เต่า-กบน้อย-หอย-ปู-ปลา- สัตว์นานา"ในห้วงกรรมที่นำหนุน
ในกามภพ-อรูปภพไม่จบบุญ รูปภพหมุนเทพ-สัตว์-คนเป็นวนวง
"ในสระบัวคือธาราเต็มสาคร" ไม่ขาดตอน"สังโยชน์"-"โลภ-โกรธ-หลง"
เป็น"สังสารวัฏ-ห้วงน้ำใหญ่"ขอให้ปลง "นิพพาน"ส่งด้วย"สุนทรีวาณี"
เทอญฯ.....กัลยาณมิตร
หมายเหตุ:พระสุนทรีวาณี เป็นพระที่ทรงไว้ด้วยความเมตตาอย่างสูง เป็นพระที่เป็นสิริมงคล มหาลาภต่าง ๆ จึงเหมาะแก่ห้างร้าน บริษัท และร้านค้าทั่วไปจะมีไว้บูชาเพื่อเจริญด้วยลาภ ยศ ความสุข สรรเสริญ ตลอดจนการเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานของตน
ผู้บูชาเกิดความผ่องใส เกิดโชคลาภ และความสำเร็จสมหวัง..

ป้ายกำกับ

ป้ายกำกับ