วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

หมวด 3 พระไตรลักษณ์ กุศลและอกูศล

(๗๕) ไตรลักษณ์ (ลักษณะ ๓ ประการ แห่งสังขารธรรมทั้งหลาย — the Three Characteristics)
๑. อนิจจตา (ความเป็นของไม่เที่ยง — impermanence; transiency)
๒. ทุกขตา (ความเป็นทุกข์ — state of suffering or being oppressed)
๓. อนัตตตา (ความเป็นของไม่ใช่ตน — soullessness; not-self)
ดู (๘๕) ธรรมนิยาม ๓

Groups of Three (including related groups)
(๖๕) กรรม ๓ (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม — action; deed)
๑. กายกรรม (กรรมทำด้วยกาย, การกระทำทางกาย — bodily action)
๒. วจีกรรม (กรรมทำด้วยวาจา, การกระทำทางวาจา — verbal action)
๓. มโนกรรม (กรรมทำด้วยใจ, การกระทำทางใจ — mental action)
M.I.373. ม.ม. ๑๓/๖๔/๕๖.
________________________________________

(๖๖) กุศลมูล ๓ (รากเหง้าของกุศล, ต้นตอของความดี — whole some roots; roots of good actions)
๑. อโลภะ (ความไม่โลภ, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโลภะ, ความคิดเผื่อแผ่, จาคะ — non-greed; generosity)
๒. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโทสะ, เมตตา — non-hatred; love)
๓. อโมหะ (ความไม่หลง, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความหลง, ปัญญา — non-delusion; wisdom)
D.III.275. ที.ปา.๑๑/๓๙๔/๒๙๒.
________________________________________

(๖๗) อกุศลมูล ๓ (รากเหง้าของอกุศล, ต้นตอของความชั่ว — unwholesome roots; roots of bad actions)
๑. โลภะ (ความอยากได้ — greed)
๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย — hatred)
๓. โมหะ (ความหลง — delusion)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้ายกำกับ

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก